Page 91 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 91

คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
                                                                                                        | 80



                                            กรณีเห็นว่าไม่สมควรอนุญาต ศาลมีอ านาจสั่งยกค าร้องขอขยาย

                     ระยะเวลาการแสดงตนได้ แต่ไม่มีอ านาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ (ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ

                     ข้อ ๒๖) โดยอาจให้เหตุผลในค าสั่งในค าร้องว่า

                                              “พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ศาลพิพากษาลงโทษจ าเลยให้จ าคุก......

                     อันเป็นโทษสถานหนัก จ าเลยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งที่สามารถติดต่อได้แน่ชัด พฤติการณ์


                     ท าให้เห็นว่าจ าเลยน่าจะหลบหนี เหตุผลที่ไม่อาจมาศาลได้ตามค าร้องไม่มีหลักฐานประกอบ

                     ไม่น่าเชื่อว่าจ าเลยไม่อาจมาแสดงตนได้จริง ยกค าร้อง"


                                            และสั่งในอุทธรณ์จ าเลยว่า

                                              “จ าเลยซึ่งมิได้ถูกคุมขังยื่นอุทธรณ์แต่ไม่มาแสดงตนต่อเจ้าพนักงาน

                     ศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ ส่งอุทธรณ์พร้อมส านวนไปยังศาลอุทธรณ์ แผนกคดีทุจริตและประพฤติ

                     มิชอบเพื่อพิจารณาสั่งต่อไป”


                                            ข้อสังเกต

                                            1. ในกรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้จ าเลยขยายระยะเวลาการแสดงตนหรือ

                     จ าเลยไม่มาแสดงตนภายในระยะเวลาที่ศาลอนุญาต หากไม่มีคู่ความฝ่ายอื่นยื่นอุทธรณ์

                     ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตฯ จะมีค าสั่งไม่รับอุทธรณ์ คดีย่อมถึงที่สุด ดังนั้น การไม่มาแสดงตน


                     ของจ าเลยอาจถูกพิจารณาได้ว่าจ าเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นอาจมีค าสั่ง

                     ให้นายประกันส่งตัวจ าเลยต่อศาลทันที

                                            2. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๘ วรรคสี่ ก าหนดว่า การแสดงตนไม่ใช้

                     บังคับแก่กรณีจ าเลยได้รับการรอการลงโทษจ าคุก หรือรับโทษจ าคุกตามค าพิพากษาครบถ้วน

                     แล้ว แต่ส าหรับคดีทุจริตฯ มี พ.ร.บ. วิ. ทุจริตฯ มาตรา ๔๐ วางแนวทางในการแสดงตนไว้

                     โดยเฉพาะแล้ว ไม่อาจน า ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๘ วรรคสี่ มาปรับใช้ได้ ดังนั้น จ าเลยในคดีทุจริตฯ


                     ที่ได้รับการรอการลงโทษจ าคุก หรือรับโทษจ าคุกตามค าพิพากษาครบถ้วนแล้ว จึงถือว่าไม่ได้ถูก

                     คุมขังต้องมาแสดงตนต่อศาล
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96