Page 20 - Q8 -
P. 20

19

                    ๑.๔  แนวคิดในการตรวจราชการ


                             ๑.๔.๑ ความหมายของการตรวจราชการ
                             ในความหมายทั่วไปราชบัณฑิตยสถานไดบัญญัติความหมายของคําวา ตรวจ และ ราชการ

                    ไวดังนี้
                             ตรวจ หมายถึง พิจารณาดูความเรียบรอย เชน ตรวจพล ตรวจราชการ พิจารณาดูวาถูกหรือ
                    ผิดดีหรือราย ตรวจบัญชี ตรวจพื้นที่
                             ราชการ หมายถึง การงานของรัฐบาลหรือของพระเจาแผนดิน

                             โดยรวมแลวความหมายของคําวา ตรวจราชการ หมายถึง ตรวจดูการทํางานใหดําเนินไปโดย
                    เรียบรอย นอกจากนี้ ในเชิงวิชาการ การตรวจราชการ หมายถึง การตรวจติดตาม เรงรัด แนะนํา
                    สืบสวนสอบสวนขอเท็จจริง สดับตรับฟงเหตุการณ เสนอแนะ ติดตอประสานงาน ตรวจเยี่ยม หรือ
                    ดําเนินการอื่นใดเพื่อใหการปฏิบัติงานของหนวยงานและเจาหนาที่ไดผลประโยชนตอทางราชการ

                    อีกนัยหนึ่งดวย

                             ๑.๔.๒ รูปแบบการตรวจราชการ
                             รูปแบบหรือประเภทการตรวจราชการแบงออกเปน 2 ประเภท โดยยึดตามวัตถุประสงค

                    หรือคุณลักษณะของการตรวจ ดังตอไปนี้
                             1) การตรวจราชการในแบบประเพณีนิยม การตรวจราชการรูปแบบนี้จะมีความสอดคลอง
                    กับการบริหารราชการแผนดินในแบบดั้งเดิมที่ใหความสําคัญกับกฎระเบียบและแบบแผนมาตรฐาน
                    กลาง เปนเครื่องมือของการดําเนินงานเพื่อใหการดําเนินงานเปนไปอยางถูกตอง และปองกันและ

                    ควบคุมการใชอํานาจ และทุจริตประพฤติมิชอบ การใชรูปแบบการตรวจราชการแบบประเพณีนิยมอาจ
                    สงผลใหการตรวจราชการมีลักษณะเปนเชิงลบที่เนนการจองจับผิดและลงโทษโดยใหความสําคัญตอการ
                    ตรวจสอบรายละเอียดของการปฏิบัติงานวาเกิดการทุจริตคอรัปชันและมีการละเมิดอํานาจหนาที่หรือ
                    กฎระเบียบที่กําหนดไวหรือไม

                             2) การตรวจราชการแบบสมัยใหม เปนการตรวจราชการที่สอดรับกับแนวคิดการปฏิรูป
                    ระบบราชการ โดยเฉพาะระบบการบริหารงานในแบบมุงผลสัมฤทธิ์ ทําใหการตรวจราชการมีลักษณะ
                    เปนเชิงบวกหรือเสริมแรงจูงใจ ซึ่งใหความสําคัญตอการวัดและพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ

                    คุณภาพมาตรฐานของการใหบริการ ลดปจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหรือสงผลกระทบตอผลสัมฤทธิ์
                    ของการดําเนินงาน รวมทั้งการเสริมสรางขีดสมรรถนะขององคกรในระยะยาวไมใชเรื่องของ
                    การจองจับผิดและลงโทษ
                              สําหรับการตรวจราชการแบบสมัยใหมที่ใชในปจจุบันของสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค ๒
                    เปนการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุงผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของประธานศาลฎีกา และ

                    ยุทธศาสตรของสํานักงานศาลยุติธรรม ซึ่งจะมีลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ ไดแก
                              1) การตรวจราชการเชิงรุก เปนการตรวจราชการที่ปองกันปญหาที่อาจเกิดขึ้นหรือ
                    สัญญาณเตือนลวงหนาใหแกผูบริหารหนวยงาน รวมทั้งใหคําปรึกษาแนะนําเพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะ

                    องคกร หรือแนะนําวิธีดําเนินการที่เหมาะสม (Best fit)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25