Page 48 - โครงการ เรื่อง การบัญชีการเงิน
P. 48
37
1. เขียนปีพ.ศ. “เดือน (ตัวอักษรย่อ) และวันที่ตามช่องในแบบฟอร์มสมุดรายวัน
ทั่วไป และรายการค้าต่อจากรายการแรกไม่ต้องเขียนเดือนอีก โดยเขียนเฉพาะวันที่ของ
รายการค้าเท่านั้น
2. นําบัญชีที่วิเคราะห์ด้านเดบิตใส่ในช่องรายการชิดเส้นแบ่งช่องวันที่และช่อง
รายการ โดยไม่ต้องเขียนคําว่า
“เดบิต” และคําว่า “บัญชี” พร้อมทั้งใส่จํานวนเงินช่องเดบิต ตามหลักการ เขียนจํานวน
เงินทางการบัญชี หลักหน่วยของจํานวนเงินให้ชิดเส้นแบ่งช่องบาทและช่อง .สต. กรณีที่ไม่
เศษสตางค์ ให้เขียนเครื่องหมาย " " ในช่องสตางค์ด้วย
ช่องเลขที่บัญชียังไม่ต้องบันทึก
3. นําบัญชีที่วิเคราะห์ด้านเครดิตใส่ในช่องรายการบรรทัดต่อจากบัญชีที่บันทึกเด
บิต โดยเขียนเมืองจากเส้นแบ่งช่องวันที่และช่องรายการไปด้านขวาประมาณ 2 เซ็นติเมตร
โดยเม ต้องเขียนคําว่า “เครดิต” และคําว่า “บัญชี" พร้อมใส่จํานวนเงินช่องเครดิต และ
เช่นเดียวกับ การบันทึกบัญชีที่เดบิต คือ จํานวนเงินของหลักหน่วยให้ชิดเส้นแบ่งช่องบาท
และช่องสต. และ ทําเครื่องหมาย “ ” กรณีไม่มีเศษสตางค์ ช่องเลขที่บัญชียังไม่ต้องบันทึก
4. เขียนคําอธิบายรายการค้าที่บันทึกในบรรทัดต่อจากบรรทัดที่บันทึกบัญชีเครดิต
ใน ช่องรายการ โดยเขียนชิดเส้นแบ่งช่องวันที่และช่องรายการ เป็นคําอธิบายสั้นๆ
กะทัดรัดและ อ่านได้ใจความถึงรายการค้าที่บันทึก แล้วขีดเส้นใต้ช่องรายการแสดงถึงการ
สิ้นสุดการบันทึกราย การค้านั้น
จากขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ แสดงได้ตามตัวอย่างดังนี้
5. นํารายการที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไปนี้ผ่านรายการ (Posting) ไปยังสมุด
บัญช แยกประเภททั่วไป โดยบันทึกบัญชีที่เดบิต ด้านซ้าย และบัญชีที่เครดิต ด้านขวา
วัน เดือน ปี ที่เกิดรายการบันทึกเช่นเดียวกับการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป ช่องรายการ
ของบัญชีที่บันทึก ด้านซ้ายให้อ้างถึงบัญชีที่ เครดิต ส่วนช่องรายการของบัญชีที่บันทึก
่
ด้านขวาให้อ้างถึงบัญชีท เดบิต ในกรณีที่บันทึกบัญชีที่เดบิตและเครดิตมากกว่าหนึงบัญชี
(Compound Journal Entry) เช่น เดบิต เงินสด 500 บาท ลูกหนี้ 1,200 บาท อุปกรณ์
สํานักงาน 3,000 บาท เครดิต เจ้าหนี้ 2,000 บาท ทุน-นายฉัตรชัย 2,700 บาท ให้เขียน
คําว่า “สมุดรายวันทั่วไป” ในช่องรายการ และในช่องหน้า บัญชีให้อ้างถึง หน้าบัญชีของ
สมุดรายวันทั่วไป โดยใช้ตัวอักษรย่อ “ร.ว.” ตามด้วยเลขที่หน้า