Page 38 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การเจาะสภาวะ
P. 38
216
เราก็กาหนดอาการแบบนี้ได้ แต่ถ้าเราไม่ฟังเลย เราก็ไม่ให้เกียรติ เขาก็ยิ่งพูดนานขึ้น ไม่ใส่ใจเขาก็พูดนาน ขึ้นนะเพราะฉะนั้นนี่การเจาะสภาวะใช้ไดก้ับทุกอารมณ์พอพูดถึงธรรมะ...ทาไมน้อยจังพูดถึงเสียงแล้ว ตอนนี้ ลองดูสิ ใจตอนนี้รู้สึกอย่างไร จิตใจตอนนี้นะ
นั่ง...นั่ง ทาใจให้ว่าง ๆ ก่อน สงบอย่างเดียวไม่พอ เดี๋ยวหลับ ทาใจให้ว่าง ๆ ให้กว้างเท่าห้องนี้ ให้ กว้าง ๆ แล้วฟังเสียงไป กาหนดรู้ไป ลองดูนะ ทาใจให้ว่าง ๆ ให้กว้าง ให้สบาย ให้เสียงธรรมะที่อาจารย์ พูดนี่นะ เกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ เกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ที่ว่างตรงนั้นนะ เป็นความว่างที่สงบ เป็นความว่างที่เบา เป็น ความว่างที่ผ่องใส เป็นความว่างที่โปร่ง หรือเป็นความว่างที่มั่นคง ว่างแล้วให้ความรู้สึกหนักแน่นมั่นคง แต่บรรยากาศความว่างนี่นะ มีความใส ความสว่าง ความเบา ความโปร่ง ให้เสียงเกิดขึ้นอยู่ในบรรยากาศ อันนั้น
แล้วลองกาหนดดูว่า การที่เจาะสภาวะนี่นะ การที่เราเอาเสียงมาเป็นอารมณ์ ในการเจริญกรรมฐาน ในการเจาะสภาวะ พอมีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของเสียงแต่ละขณะ ทีนี้พอเห็นอาการเกิดดับของเสียง หลักของการเจริญกรรมฐาน หรือเป้าหมายของการเจริญกรรมฐาน เขาเรียกว่า รู้อาการเกิดดับของรูปนาม เสียงเป็นรูป ใจรู้เป็นนาม เพราะฉะนั้น เสียงเกิดดับอย่างไร จิตที่ไปรู้เกิดดับด้วยไหม สังเกตดูจะได้เห็น ทงั้ รปู และนามเกดิ ดบั รปู นามเกดิ ดบั ในลกั ษณะอยา่ งไร แลว้ ทา อยา่ งไรถงึ จะเหน็ ถา้ ใครยงั ไมเ่ หน็ ไมเ่ ปน็ ไร ให้ใส่ใจ ให้นิ่ง ให้คอยสังเกตอยู่เรื่อย ๆ
คาแต่ละคา บางครั้งตามไม่ทัน ๆ ตอนนี้ยังตามไม่ทัน แต่ละคาผ่านไปเร็วดับเร็ว ไม่ทันไม่เป็นไร ให้ตั้งใจ ตั้งสติใหม่ ตั้งใจมากขึ้นอีก นิ่งขึ้น ให้เลือกทีละจุด จุดไหนที่ชัดที่สุด เราก็ใส่ใจจุดนั้น อาจจะ เป็นคาแรกที่ชัด หรือจุดจบของคา...ที่ชัด จุดไหนที่เด่นชัดที่สุด ก็ให้รู้จุดนั้น ทีละจุด ๆ แล้วก็ค่อยสังเกต รายละเอียดมากขึ้นแต่ละขณะ อันนี้ยกตัวอย่างนะ ทีนี้ถ้าไม่ใช่เสียง แล้วเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่เสียง ทาจิตให้ ว่าง ให้กว้าง แล้วก็ดูเข้าไปในจิตที่ว่าง ๆ กว้าง ๆ ได้เลย ดูจิตในจิตที่ว่าง ที่กว้าง ที่เบา ที่สงบ รู้เข้าไปใน ความเบา ความสงบ ความสุข การเจาะตรงนี้ เขาเรียกดูจิตในจิต
เข้าไปรู้จิตที่สงบ ที่เบา ที่ว่าง เข้าไปแล้ว จิตที่สงบ ที่เบา ที่ว่าง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สังเกต ว่า เข้าไปแต่ละขณะ เข้าไปแต่ละครั้ง ๆ ๆ อาการความสงบ ความเบา เขาเปลี่ยนอย่างไร เปลี่ยนอย่างไร มีความสงบขึ้น เบาขึ้น โล่งขึ้น กว้างขึ้น ใสขึ้น อันนี้ก็คือ สังเกตแต่ละขณะที่เข้าไป ๆ นี่คือการเจาะสภาวะ เหมือนกัน ทีนี้ต่อไปคือว่า พอเจาะสภาวะดูจิตแบบนี้ เข้าไปแล้วเขาเบาขึ้น โล่งขึ้น สว่างขึ้น
ใหส้ งั เกตตอ่ ไป อกี แบบเดยี วกนั คอื ตวั จติ ทเี่ ขา้ ไปในความสงบแตล่ ะขณะ จติ ทเี่ ขา้ ไปในความสงบ เข้าไปในความว่างแต่ละครั้งนี่นะ เวลาเข้าไป จิตที่เข้าไปเขาดับก่อนไหม จึงเบาขึ้นมา ดับก่อนไหมถึงจะ สงบมากขึ้น เข้าไปดับก่อนไหมถึงใสมากขึ้น รู้อาการเกิดดับของตัวจิตที่เข้าไปดูจิต จิตดูจิต แล้วใครดูจิต ที่เข้าไป ไม่ต้องถาม ใครก็ช่างเหอะ ตัวนั้นก็คือตัวจิต หรือตัวสติของเรา ก็คือตัวจิตทาหน้าที่รู้ตัวเองด้วย จิตตัวเองรู้ตัวเองไป รู้แบบนั้นไป รู้อาการแบบนั้นไป ดูต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ