Page 26 - ดับตัวตน ค้นธรรม
P. 26
18
การที่เราเจตนาที่จะรู้ถึงการเกิดดับ ไม่ใช่ว่าเราบังคับให้อาการนั้น เกิดดับ เพียงแต่มีเจตนาที่จะรู้ถึงลักษณะอาการพระไตรลักษณ์ เกิดขึ้น- ตั้งอยู่-ดับไป ถึงแม้ว่าเขาจะมีอาการหมุนรอบไป ไม่มีอาการสะดุด ไม่มี อาการหยุด เราก็ยังสามารถกาหนดรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ ได้ว่า ถ้าลมหายใจเข้า-หายใจออกไม่มีอาการสะดุด ไม่มีการหยุด ก็เพิ่ม การสังเกต ใส่ใจให้มากยิ่งขึ้น ระหว่างเข้า-ออกเขามีความชัดเจนเท่ากัน ตลอดหรือไม่ ? มีความยาวเท่ากันตลอดหรือไม่ ? หรือมีบางช่วงที่เบาไป จางไป หรือหายไป ? นั่นคือการสังเกตรายละเอียดเพิ่มขึ้น
เราใส่ใจพิจารณาในรายละเอียดของอาการของรูป อันนี้เขาเรียก ว่า อาการของรูปหรืออาการของกาย เป็นการดูกายในกาย รู้อาการของ กายที่มีการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวของลมหายใจ สาหรับคนที่รู้สึก ว่าไม่มีอาการของลมหายใจ ไม่มีอาการพองยุบ แต่ยังรู้สึกถึงอาการ กระเพื่อม ๆ ไหว ๆ ลึก ๆ ไม่รู้ว่าอยู่ตาแหน่งไหน แต่รู้สึกถึงอาการ กระเพื่อมไหวเป็นขณะ ๆ ขอให้นิ่ง แล้วพิจารณาดูอาการกระเพื่อมนั้น เข้าไปรู้ที่อาการกระเพื่อมเป็นขณะ ๆ ๆ ว่าเขามีการเปลี่ยนไปอย่างไร - อาการกระเพอื่ มนนั้ กวา้ งออกไป ? เบาไป ? จางไป ? หรอื อาการกระเพอื่ ม ค่อย ๆ สั้นลง ? แคบลง ? อันนี้อย่างหนึ่ง
จะให้ดีก็เพิ่มเจตนาที่จะรู้ว่า กระเพื่อมไปแต่ละขณะ แต่ละขณะ เขามีอาการหยุดขาด หยุดดับไป ชุดหนึ่งเป็นขณะ ๆ เป็นช่องว่าง มีอาการ หยดุ หรอื หาย หยดุ ขาดไปเปน็ ขณะหรอื ไม่ ? อกี อยา่ งหนงึ่ ถา้ เราเพมิ่ เจตนา ที่จะรู้ว่า “รอยต่อ” ระหว่างอาการกระเพื่อมแต่ละขณะ เขามีอาการหยุด สะดุด ขาดไปหรือไม่ ? นี่เพิ่มการสังเกตในรายละเอียดมากขึ้นถ้ากาหนด รู้ถึงอาการกระเพื่อม บางครั้งขณะที่ยกจิตขึ้นสู่ความว่างก็มีอาการ