Page 74 - ดับตัวตน ค้นธรรม
P. 74

66
เสียแล้ว พอเริ่มเคี้ยวจะกลืน ก็ป้อนเข้าไป เหมือนโรงงาน มันหมุนไป เรื่อย ๆ แต่ถ้าลองดู เคี้ยว ๆ ๆ ๆ จนกลืนหมดแล้ว นิ่งนิดหนึ่ง พิจารณา ดูสิ รสชาติที่ว่าอร่อยที่สุดถ้าขาดตอนแล้วรู้สึกอย่างไร ? ความเพลิด เพลินในรสชาตินั้นลดลงทันที แล้วเราก็จะรู้สึกว่าความอร่อยจะน้อยลง การติดในรสชาติลดลง อันนี้คือการที่เราหยุดเพื่อให้เห็นช่องว่างระหว่าง รสชาติ
แต่ถ้าเรากาหนดแบบนี้ - สมมติว่า พอเปรี้ยวขึ้นมา เอาจิตที่ว่าง ๆ เข้าไปปึ๊บ ดูว่าความเปรี้ยวเขาดับอย่างไร ? พอหวานขึ้นมา เข้าไปรู้ ความ หวานเขาดับอย่างไร ? แม้แต่ความหวานที่อมไว้ในปากก็ยังไม่เที่ยง! ทุก คนทนี่ งั่ ในทนี่ คี้ ดิ วา่ คงเคยอมลกู อมสกั อยา่ งหนงึ่ แหละ อมแลว้ รสู้ กึ หวาน อร่อย ถูกใจ อมไปเรื่อย ๆ พอความหวานเริ่มหาย เราก็เริ่มขยับลิ้นเพื่อ ให้ความหวานมันออกมาแล้วก็อมต่อ พอสักพักมันเริ่มจืด เราก็ขยับลิ้น ใหม่เพื่อให้ความหวานมันออกมา แล้วก็ขยับอยู่เรื่อยเพื่อให้ รสชาติความหวานมันต่อเนื่อง ถ้าอมเฉย ๆ รสชาติมันจะหายไป นั่นคือ ความไม่เที่ยง-การดับของเขา
ถ้าหวานเท่าเดิมตลอด รับรองเลี่ยน! สังเกตไหม ถ้าหวานตลอด เลย จะหนีไปไหนก็ไม่ได้ จืดก็ไม่ได้ หวานอยู่ในปากตลอดนี่ ไม่นาน เดี๋ยวก็รู้สึกเลี่ยนแล้ว หาทางล้างปากแล้ว ไม่ไหวแล้ว แสดงว่าเกินที่ ร่างกายของเราจะรับ เพราะฉะนั้น สังเกตดูว่ารสชาติของอาหารจึงมี การเกิดดับ เขาดับแล้วก็เติมใหม่ เกิดดับแล้วก็เติมใหม่ เติมใหม่อยู่ เรื่อย ๆ นั่นคือการเกิดดับของมัน ถ้าเราสนใจรู้การเกิดการดับของเขา เราจะเห็นเลยว่ารสชาติเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป


































































































   72   73   74   75   76