Page 75 - ดับตัวตน ค้นธรรม
P. 75
ทีนี้ การกาหนดการไม่ติดในรสชาติเพื่ออะไร ? บางทีเราจะเห็นว่า อาหารบางอย่างรสชาติไม่ถูกปาก แต่จาเป็นต่อร่างกาย เราจะทานอย่างไร ถึงจะรับได้โดยที่ไม่รู้สึกเป็นทุกข์กับมัน ? แม้แต่ยาบางชนิด เราไม่ชอบ เลยแต่จาเป็นต้องรับ บางคนทานยากมาก ลองดู เอาจิตที่ว่าง ๆ ไปรับรู้ แล้วให้มันกลืนลงไปในที่ว่าง ๆ สิ แทนที่จะกลืนลงไปในท้อง ลองดูสิ เวลาเรากลืนน้าลายมันลงไปที่ไหน ? ลงไปที่ท้องไหม ? ไม่รู้สึก ใช่ไหม ? รู้สึกว่าแค่เลยคอไปก็หายแล้ว ลงท้องหรือเปล่าก็ไม่รู้ ?
การกาหนดรสชาติของอาหารเพื่อไม่ติดในรสชาติอย่างหนึ่ง แล้ว การยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา รู้การเกิดดับของรสชาติที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ให้ละเอียดมากขึ้นก็คือว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้กับรสชาติที่เกิดขึ้น เขาเป็น ส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน ? ความหวานกับจิตเรา เขาเป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วนกัน ? ความอร่อยกับจิตเรา เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วนกัน ? สังเกตแบบนี้เพื่ออะไร ? เพื่อที่จิตจะคลายจากอุปาทาน คลายความยินดีพอใจ แต่ก็ยังรู้ว่าอะไรดีไม่ดี
ถ้าไม่รู้รสชาติเลยเดี๋ยวก็มีปัญหาขึ้นมา ถ้าไม่รู้รสชาติเลย ทานแต่ เกลือ เค็มแต่ไม่รู้ว่าเค็มนี่ก็อันตรายนะ ทานหวาน ๆ ๆ ๆ ไปตลอด ไม่รู้ ว่าหวาน น้าตาลขึ้นเรียบร้อยแล้วเราก็ไม่รู้ อันนี้ก็อันตราย เพราะฉะนั้น การพิจารณา - ลิ้นทาหน้าที่ของเขา เขารู้รส แต่ความยินดีพอใจในรสนั้น อยู่ที่เราเป็นผู้กาหนด อยู่ที่เราเป็นผู้เลือกว่าเราจะยินดีพอใจในรสชาติ อาหารนั้นมากแค่ไหน ไม่ใช่ไม่รู้รส รู้ แต่ติดหรือไม่ติดนั่นอีกเรื่องหนึ่ง อันนี้คือการพิจารณา
เพราะฉะนั้น ลองดูนะ พรุ่งนี้เวลาเคี้ยวอาหาร ถ้ารสชาติอาหาร ไหนที่รู้สึกว่าเข้าปากแล้วไม่ถูกใจ ลองทาใจให้ว่าง ๆ แล้วมันจะเข้าไปได้
67