Page 121 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 121

103
ทาให้เรามีปัญญาแก้ปัญหาชีวิตของเราได้ แต่ไม่ว่าจะปฏิบัติเพื่อสิ่งไหน ก็ตาม สิ่งสาคัญที่เราต้องทาก็คือ การต้องมีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน เพื่อให้สมาธิ เราตั้งมั่น
สมาธินั้นมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งคือ “ความสงบ” สงบจากอารมณ์ ไม่ คิดอะไร มีความเงียบความสงัดเป็นที่ตั้ง สมาธิอีกอย่างหนึ่งคือ “ความตั้งมั่น ของจิตเรา” ความตั้งมั่นของจิตที่สามารถคิดอะไรได้ ไม่วุ่นวายกับอารมณ์ ที่เกิดขึ้น แต่สมาธิเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยการมีสติรู้อยู่กับอารมณ์ ปัจจุบัน ตามรู้อารมณ์ปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลายจึงมีอุบาย ในการฝึกสติของเรา เพื่อให้สติเราอยู่กับปัจจุบัน โดยการมีอารมณ์หลักให้ เราต้องตามกาหนดรู้
อารมณ์หลักที่เราต้องตามกาหนดรู้ โดยที่เราไม่ต้องสร้าง เป็น อารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจริง ๆ ไม่ต้องบังคับหรือไม่ต้องสร้างขึ้นมา อารมณ์ปัจจุบันจริง ๆ คือ อารมณ์ที่กาลังปรากฏอยู่ตรงนี้ อย่างที่บอกแล้ว ลมหายใจเข้าออกอย่างหนึ่ง อาการพองยุบอย่างหนึ่ง เวทนาอีกอย่างหนึ่ง แล้วก็ความคิดที่เข้ามานั่นอีกอย่างหนึ่ง แต่ทีนี้เบื้องต้น ถ้าเราจะกาหนด ความคิดเลย บางคนก็จะรู้สึกว่าสติไม่พอหรือสมาธิไม่พอ ไม่สามารถ กาหนดความคิดได้ จึงต้องอาศัยอารมณ์ที่ไม่ต้องปรุงแต่งก่อน ก็คือ กาหนดพองยุบหรือลมหายใจเข้าออก
ทีนี้ วิธีทาให้สติเรารู้อยู่กับปัจจุบัน เราต้องมีเจตนาที่จะรู้ เจตนา คือ การตั้งใจที่จะรู้ รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเขา หายใจเข้าท้องพองออก ก็ตามไป สังเกตไป ลองสังเกตดี ๆ นะ บางทีอาการพองยุบที่เราเคยเห็น นั้น เขาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อาจจะต่างจากเดิม ใครที่รู้สึกว่าอาการ พองยุบเป็นกลุ่มก้อน ก็ตามก้อนของพองยุบที่เป็นกลุ่มก้อนไป พอพองออก สุดแล้ว เขาหายอย่างไร ? เขาแตกไป กระจายไป เลือนไป บางไป เบาไป หรือเป็นอย่างไร ? ให้สังเกตการเปลี่ยนแปลง จากนั้นขณะที่ท้องยุบเข้ามา


































































































   119   120   121   122   123