Page 122 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 122

104
ก็ตามในลักษณะเดียวกัน พอยุบมาสุดที่ท้องนี่ เขาหยุดแล้วหายไปนิดหนึ่ง แล้วค่อยเกิดใหม่หรือเปล่า ? สังเกตอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ตามรู้การเปลี่ยนแปลง อันนี้อย่างหนึ่งนะ
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า หายใจเข้าหายใจออก เริ่มจากหายใจช้า ๆ ก่อน หายใจเบา ๆ ช้า ๆ การหายใจช้า ๆ ทาให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ตรงที่เราไม่เกร็ง สติเราจะมีความชัดเจน ถ้าเราเกร็งมาก ๆ สมาธิหรือจิตเรา จะไม่ตั้งมั่น เราจะกังวล เพราะฉะนั้น เวลาเราหายใจ หายใจแบบธรรมชาติ หายใจแบบสบาย ๆ ตามรู้ให้ชัดเท่านั้นเอง เขาเรียกว่า “รู้ชัดในรู้” รู้ชัดใน อาการที่เกิดขึ้น คาว่า “กาหนด” หมายความว่า รู้ชัดในรู้ รู้ชัดในสิ่งที่เป็น เพียงแต่ว่าเราต้องการรู้ชัดในสิ่งที่เขาเกิด บางทีกลัวว่าสติไม่อยู่กับอาการ เลยต้องใช้คาบริกรรมเข้าไปด้วย คือมีคากากับ หายใจเข้า หายใจออก...
วิธีที่จะให้สติเราเกาะติดหรืออยู่กับอารมณ์ปัจจุบันให้ต่อเนื่อง จึง ต้องเพิ่ม “ตัวสังเกต” เข้าไป เพิ่มการสังเกตอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปใน ลักษณะอย่างไร ยาวก็ให้รู้ว่ายาว พอง ยาว ยาว ยาว ออกไป ก็ให้รู้ว่ายาว ออกไป บางทีพอเรามีสมาธิ จิตเราสงบ ขณะที่เราหายใจเข้าไป อาการพอง อาจจะพองขยายใหญ่ ใหญ่ ใหญ่ กว้างยาวไปเรื่อย ๆ ก็มี บางทีเวลาหายใจ ออก อาการยุบอาจจะเล็กลง เล็กลง เล็กลง จนสุดเหลือแค่จุดเดียวเล็ก ๆ แล้วหายไปก็มี อันนั้นแล้วแต่ว่าสมาธิหรือสติของเราขณะนั้นเป็นอย่างไร อาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากกาลังของสติและสมาธิของเรา อาการไหนที่เกิดขึ้น ก็ให้ตั้งใจและสังเกตให้ดี นี่คือวิธีที่จะให้สติเราอยู่กับปัจจุบัน
โยคีบางคน พอเริ่มนั่ง พองยุบยังไม่ปรากฏเลย ลมหายใจยังไม่ชัด เลย “ความคิด” ก็มาแล้ว พอเริ่มนั่งก็คิดโน่นคิดนี่ คิดสารพัดความคิด ทีนี้ จะทาอย่างไรถึงจะหยุดความคิดได้ ? วิธีการหยุดความคิด คือ ให้พอใจที่ จะรู้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นมานั้น เขาเกิดและดับอย่างไร รู้ว่าเรื่องนี้เข้ามา แล้ว พอมีสติเข้าไปรู้ เขาหยุดไป ดับไป หายไป... แป๊บเดียว มีเรื่องใหม่เข้ามา ให้


































































































   120   121   122   123   124