Page 123 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 123

105
พอใจที่จะรู้ว่าเรื่องใหม่ที่เข้ามาเขาดับอย่างไร หยุดอีก หรือจางไป หรือดับเร็ว กว่าเดิม ถ้าเห็นว่าความคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ตามมาเรื่อย ๆ แล้วดับเร็วกว่าเดิม แสดงว่าสติเราไวขึ้น เพราะฉะนั้น ให้พอใจที่จะกาหนดรู้
การรู้ความคิด เราต้องมีเจตนาที่ชัดเจน พอใจที่จะรู้ว่า “เขาเกิดดับ อย่างไร” ไม่ใช่พอใจที่จะรู้ว่าเขาคิดอะไรแล้วคล้อยตาม คือเราไม่คล้อยตาม ๑. พอใจที่จะรู้ว่าเขาดับอย่างไร ๒. เกิดในลักษณะอย่างไร ค่อย ๆ เกิดขึ้น มาแล้วดับไป บางทีค่อย ๆ มาจากด้านซ้ายบ้าง ด้านขวาบ้าง มาจากข้างหน้า บ้าง ข้างหลังบ้าง ลองสังเกตดูนะ ความคิดของเราไม่ได้เกิดจากตรงนี้ทีเดียว บางทีก็ผุดจากตรงที่สมองเราเลย บางทีก็ลอยมา...
แต่ถ้าสติเราดี เมื่อมีความคิดเกิดขึ้นมา แล้วถ้าจาเป็นต้องคิด ให้ ความคิดอยู่ข้างหน้า ในที่ว่าง ๆ ไม่ต้องให้อยู่ตัวหรือที่สมองเรา ทาไมถึงต้อง ทาอย่างนั้น ? การที่ให้ความคิดเกิดอยู่ข้างหน้าในที่ว่าง ๆ เขาจะไม่บีบคั้น ให้เราเกิดความปวดหัว จริง ๆ แล้วทาให้เราแยกระหว่างเรื่องที่คิดกับจิต ของเราให้เป็นคนละส่วนกัน เป็นผู้ดูความคิด จริง ๆ ถ้าเราสังเกต เราคงจะ เคยเห็นว่า บางครั้งเวลาความคิดเกิดขึ้นมา เราเป็นเพียงแค่ผู้ตามรู้เฉย ๆ ดูเฉย ๆ โดยที่ไม่มีอารมณ์ร่วม ไม่เข้าไปเสวยอารมณ์อันนั้น เป็นเพียงผู้ดู เท่านั้นเอง
อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เราไม่ปฏิเสธความคิด การปฏิเสธอารมณ์ การ ปฏิเสธความคิดที่กาลังเกิดขึ้น จิตเราจะกระสับกระส่าย จิตจะไม่นิ่งแล้ว เริ่มจะกระสับกระส่าย ที่เรียกว่าฟุ้งซ่าน แต่ถ้าเรากาหนดรู้โดยที่ไม่ปฏิเสธ อารมณ์ จิตเราจะนิ่ง แล้วตามรู้อาการเกิดดับของความคิด ตรงนี้เป็นการ “แยกนามกับนาม” อย่างหนึ่ง เป็นสภาวะที่เราต้องสังเกต ถามว่า จะแยกได้ อย่างไร ? โดยธรรมชาติ จิตของเราที่ทาหน้าที่รู้กับความคิดที่เกิดขึ้น เขาไม่ ได้เป็นส่วนเดียวกัน แต่อาศัยกัน เพียงแค่สังเกตเท่านั้นแหละ แล้วเราก็จะ รู้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นมานั้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ว่าคิด เขาเป็นส่วนเดียวกัน


































































































   121   122   123   124   125