Page 126 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 126

108
พองยุบ กาหนดอาการของลมหายใจเข้าออก ตามรู้การเปลี่ยนแปลงไป เรื่อย ๆ แล้วทาให้จิตใจเราเป็นอย่างไร นั่นคือผลที่เกิดขึ้นมา ซึ่งนักปฏิบัติ จะต้องรู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติเอง และขณะที่มีความสงบ เกิดขึ้น รู้สึกดีหรือไม่ดีอย่างไร
บางครั้งโยคีจะรู้สึกว่า พอปฏิบัติไปแล้ว พอลมหายใจหายไป อาการ พองยุบหายไป ใจรู้สึกว่าง ๆ เบา ๆ ขณะที่ใจว่างเบา ยังไม่ได้สังเกตเลย ว่าใจที่ว่างเบาดีอย่างไร กังวลไปก่อนแล้ว ...แสดงว่าสติเราไม่ดีแล้ว อาการ เกดิ ดบั ไมเ่ หน็ อาการพองยบุ ไมเ่ กดิ ... คอื จะกงั วลไปวา่ เมอื่ ไหรก่ ต็ ามทไี่ มเ่ หน็ อาการพองยุบ ไม่เห็นอาการของลมหายใจเข้าออก แสดงว่าสติอ่อนแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าตรงนั้นสติอ่อนจริงหรือเปล่า ทาไมถึงเรียกว่าสติอ่อน ทั้ง ๆ ที่ใจรู้สึกโล่ง โปร่ง เบา ว่าง ? เพราะฉะนั้น สังเกตให้ดี
อารมณ์ที่เกิดขึ้นมา ที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน อันไหนชัดขึ้นมา ให้ตาม รู้อาการนั้น ความคิดเกิดขึ้นก่อน ก็ให้ตามรู้อาการเกิดดับของความคิดก่อน อีกอย่างหนึ่ง ๒ อย่างนี้เป็นตัวสาคัญสาหรับนักปฏิบัติ จริง ๆ แล้วสาคัญ ทุกอย่างนั่นแหละ แต่เราให้ความสาคัญอยู่ ๒ อย่างคือ ความปวดกับความ คิด หรือความฟุ้งซ่านราคาญกับเวทนา
เวลาเวทนาเกิดขึ้น เรามักเอาเวทนาเอาความปวดมาเป็นศัตรู คือ ต้องเอาชนะความปวดให้ได้ แล้วพยายามบังคับให้ความปวดหาย สังเกต ง่าย ๆ นะ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่ามีความปวดเกิดขึ้น แล้วเราพยายาม สู้ บังคับ เพ่ง ให้เวทนาหายไป ร่างกายเราจะเกร็งโดยธรรมชาติ เขาเรียก “มีอาการเคร่งตึงเกิดขึ้น” เมื่อมีอาการเคร่งตึงมากขึ้น เวทนาก็จะชัดขึ้น ถ้า จิตเราผ่อนคลาย รูปเราก็จะผ่อนคลาย พอรูปหรือร่างกายเราผ่อนคลาย เวทนากจ็ ะเบาบางลง เพราะฉะนนั้ เมอื่ มเี วทนาเกดิ ขนึ้ จงึ ใหส้ งั เกตดวู า่ เวทนา หรือความปวดกับจิตเรา เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน
ถ้าเห็นว่าเป็นคนละส่วน ลองสังเกตดูนะว่า เวทนาที่เกิดขึ้น เขาเกิด


































































































   124   125   126   127   128