Page 128 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 128
110
กาลังประกาศตัวเขาอยู่ แต่เราจะทนได้หรือไม่ได้ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง
ทีนี้ ถ้าทนไม่ได้จริง ๆ เราขยับได้ไหม ? ผิดไหม ? ไม่ผิด ขณะที่ ขยับ ให้มีสติรู้ถึงอาการขยับ พอมีสติรู้ถึงอาการขยับ สติเราจะไม่หลุดจาก กรรมฐาน สังเกตดูนะ เวลาเราค่อย ๆ ขยับ จิตเราก็ยังสงบอยู่ จิตเรายังนิ่ง อยู่ สมาธยิ งั มอี ยู่ แลว้ เมอื่ ขยบั ปรบั สภาพรา่ งกายเราใหเ้ ขา้ ที่ นงิ่ แลว้ กก็ า หนด อาการต่อไปได้ ไม่ได้ออกจากกรรมฐาน แค่เปลี่ยนอาการ ปรับร่างกายของ เรา เหมือนเวลาเรานั่งใหม่ ๆ สติเราดี ตัวเราจะตั้งตรง พอไปสักพัก สติเริ่ม อ่อนลง ตัวเราก็ค่อย ๆ โน้มลง ก้มลง ก้มลง... แต่เมื่อรู้สึกตัวว่าสติเราอ่อน แล้วนะ รู้สึกเราก้มมากไป หรือเมื่อยหลัง แล้วก็ยืดขึ้นมาใหม่ ยืดขึ้นมาแล้ว
ก็กาหนดต่อไปได้
เพราะฉะนั้น การกาหนดอารมณ์ เราสามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ แต่
ไม่เปลี่ยนตามอาเภอใจ พอรู้สึกไม่ทนดีกว่า รู้สึกไม่ทน ไม่ทน... ตรงที่เรา ไม่ทนหรือเราไม่สู้ จะทาให้สมาธิเราไม่ตั้งมั่น แต่ถ้าเราสู้ จิตเราจะตั้งมั่นมาก ขึ้น ความอดทน เขาเรียก “ตัวขันติธรรม” จะเกิดขึ้น สติจะมีกาลังมากขึ้น จิตจะตื่นตัวและไม่หลับ คนเรามี ๒ อย่างคือ สบายมากจนหลับ กับปวด มากจนทนไม่ไหว ทีนี้ ๒ อย่างนี้ เราจะปรับสมดุลอย่างไร ? ถ้าทนเท่าที่ทน ได้ แล้วสติสมาธิก็จะเพิ่มขึ้น คือเกิดขึ้นแล้วให้ทนก่อน “เท่าที่เราทนไหว”
ใครจะทนไหวมากแค่ไหน อันนี้อยู่ที่เราประมาณตัวเอง คนเรา ความอดทนไม่เท่ากัน บางคนปวด ๒ ชั่วโมงนี่ทนได้สบาย ๆ บางคน ๑๕ นาทีก็ไม่ไหวแล้ว ใจจะขาดแล้ว และลักษณะความปวดก็แตกต่างกัน บาง คนปวดแค่เป็นจุด บางคนปวดแบบเป็นก้อนทับลงมา บางทีก็เป็นแท่ง แข็ง ๆ สภาวะพวกนี้จะเกิดขึ้น ถามว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ? เกิดขึ้นเพราะ อานาจของสติและสมาธิของเรา อาการแข็ง ๆ ที่เกิดขึ้น เขาแสดงถึงลักษณะ ของธาตุ ธาตุอะไรที่เป็นของแข็ง ? ธาตุดิน ใช่ไหม ? มีอาการแข็ง ๆ
ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุ ๔ เพราะฉะนั้น อาการที่เกิดขึ้นกับ