Page 130 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 130

112
ถอยออกมาเพื่ออะไร ?
ถอยออกมาเพื่อให้จิตเราผ่อนคลายและมีสมาธิ ถอยออกมาแล้ว
หยุดนิ่งอยู่นิดหนึ่ง พอจิตเรามีกาลังค่อยเข้าไปรู้ใหม่ ถึงแม้จะถอยเข้าถอย ออกซ้า ๆ ก็ไม่ผิด เราต้องรู้จักยืดหยุ่น ไม่ใช่ มุ่ง มุ่ง มุ่ง... จนจะขาดใจก็ มุ่ง ๆ ไป จดจ่ออย่างเดียวแล้วเราก็ทนไม่ไหว แล้วก็จะรู้สึกว่าปล่อยดีกว่า ออกจากกรรมฐานดีกว่า วันนี้เจริญกรรมฐานไม่ประสบผลสาเร็จ สู้เวทนา ไม่ได้... จริง ๆ ก็คือนิ่ง แล้วก็ถอยออกมานิดหนึ่ง ดูห่าง ๆ ก่อน พอเขา เริ่มเบา เราก็เข้าไปใหม่ เราต้องใช้ปัญญา
เวทนาที่เกิดขึ้น สังเกตดี ๆ ถ้าเดี๋ยวปวด แล้วก็เบาลง แล้วก็ปวดขึ้น มาใหม่ แล้วก็เริ่มเบาลง... วิธีสู้ พอเขาปวดขึ้นมา ก็ถอยออกมาห่างหน่อย พอเขาเบาลง ก็เข้าไปตรงที่เขาเบาลง แล้วเราจะรู้สึกว่าไม่ทรมานมาก เข้าไป ตรง “ช่องว่าง” ระหว่างความปวดแต่ละขณะ นั่นคือวิธีการสู้กับเวทนาอย่าง หนึ่ง และการสู้อย่างนี้ เราจะเห็นว่าเม่ือเข้าไปตรงช่องว่างระหว่างความปวด จะเห็นว่าปวดขึ้นมาแล้วเขาดับอย่างไร... จางหาย หรือขาดไปเป็นช่วง แล้ว ปวดขึ้นมาใหม่ แล้วก็ขาดไปเป็นช่วง ? เราจะสู้เวทนาที่เกิดขึ้นได้สบาย ๆ และเราจะไม่ทรมาน
อีกอย่างหนึ่ง ความปวดไม่ได้เกิดอยู่ที่เดียวกันเสมอไป บางทีปวด ด้านซ้ายแป๊บเดียว แล้วก็ย้ายมาปวดด้านขวา แล้วก็ปวดที่หลัง ก็ย้ายไป เรื่อย... เรารู้สึกว่าความปวดหรือเวทนานั้น เกิดอย่างต่อเนื่องเลย ไม่ยอม หาย ถ้าสังเกตดี ๆ ลองดูว่า ด้านซ้ายเขาหายไปก่อนไหมด้านขวาถึงชัด ขึ้นมา ? ด้านขวาหายไปก่อนไหม ที่หลังถึงชัดขึ้นมา ? ชั่วเสี้ยววินาที เขา เป็นเวทนาตัวเดียวกันหรือคนละตัวกัน ? หรือคนละขณะกัน ?
ถ้าเราสังเกตอย่างนี้ เราจะรู้เลยว่า เวทนาที่เกิดขึ้นเขาก็มีช่องว่าง ของเขา ช่องว่างตรงนั้นแหละเป็นช่องว่างที่ให้เราได้พักใจ พักอาการทรมาน ไม่ต้องปวดมาก และการกาหนดรู้เวทนาในลักษณะอย่างนี้ เราสามารถนา


































































































   128   129   130   131   132