Page 132 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 132

114
แทบจะหัก บางคนเจอขนาดนั้น ทาอย่างไร ? เขาก็ทน เขาก็พิจารณารู้ ปวด... ปวดถึงที่สุดแล้ว ที่สุดของความปวดเป็นอย่างไร ? หยุดไป ดับไป หายไป เราไม่มีเจตนาที่จะต้องเอาให้ชนะ แต่มีเจตนาที่จะรู้ถึงอาการเกิด ดับของเวทนาหรือของความปวด อันนี้อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อเราพอใจที่จะรู้อาการเกิดดับของความ ปวดแล้ว สังเกตว่าจิตใจของเราขณะนั้นรู้สึกอย่างไร ? ตื่นตัว จิตตื่น สติ ดี จิตตั้งมั่นขึ้นไหม ? นั่นแหละสังเกตตรงนั้น เราสู้ขนาดนั้น ออกมาแล้ว ทาไมไม่ทรมาน ออกมาแล้วกลับรู้สึกว่างเบา ? เพราะ “สู้ด้วยปัญญา” แต่ถ้า เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าจะเอาชนะเวทนา พอไม่ชนะ ออกมาแล้วก็ห่อเหี่ยว จิตใจไม่เบิกบาน แต่ถ้าเราพอใจที่จะรู้ ถึงแม้ตอนที่นั่งกาหนดอยู่ไม่ชนะ เวทนา ออกมาก็ยังรู้สึกเบิกบาน ผ่องใส เบาได้ เพราะแยกกันระหว่างเวทนา กับจิตของเรา อันนี้เป็นสิ่งสาคัญ
ทาไมต้องกาหนดรู้อย่างนี้ ? การกาหนดรู้อย่างนี้จะไม่ประกอบ ด้วยตัวตนหรืออกุศลจิต ไม่มีกิเลสเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่มีความรู้สึกว่าชอบ หรือไม่ชอบ มีแต่สติพอใจที่จะรู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร เพราะฉะนั้น ในการ ปฏิบัติธรรมทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ เป้าหมาย หลักในการพิจารณา คือให้มีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อาการของลมหายใจเข้าออก อาการ ของพองยุบ อาการของเวทนา หรือว่าความคิดที่เข้ามา
อันนี้ยังไม่หมด เวลาเรากาหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เขาจะไม่มี อารมณ์เดียว อย่างเช่น ตามรู้ลมหายใจอยู่ดี ๆ ก็มีความคิดแทรกเข้ามา ตามรู้พองยุบอยู่ดี ๆ ก็มีเวทนาแทรกเข้ามา ตามรู้พองยุบอยู่ดี ๆ ก็มีความ คิดแทรกเข้ามา เขาเรียกว่า “อารมณ์จร” เข้ามา แล้วก็จะกังวลว่ากาลังปฏิบัติ อยู่ดี ๆ เดี๋ยวแวบไปโน่นเดี๋ยวแวบไปนี่ ขณะที่เรารู้สึกว่ากาลังตามรู้ลมหายใจ อยู่ดี ๆ แล้วก็แวบไป แวบไป แวบไปโน่นแวบไปนี่ ฟุ้งซ่านไปเรื่อย ๆ


































































































   130   131   132   133   134