Page 131 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 131
113
ไปใช้ได้กับชีวิตประจาวันของเรา เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา เวลามีความ ปวด โดยธรรมชาติแล้ว ไม่มีความปวดไหนตั้งอยู่ตลอดเวลา ถึงจะปวด มากแค่ไหน ก็ปวดระยะหนึ่ง แล้วก็หายไป แล้วก็ปวดขึ้นมาใหม่แล้วก็หาย ไป ปวดขึ้นมาใหม่ แล้วก็หายไป...
ถ้าปวดนานเกิน ๒ นาที แล้วปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จี๊ดแปลบขึ้นมา เรื่อย ๆ ส่วนใหญ่แล้วทนยาก เพราะเรากลั้นหายใจไม่อยู่แล้ว ที่เรารู้สึก ปวดแทบขาดใจเพราะเรากลั้นหายใจได้สุดแล้วขณะนั้นแหละ ทนต่อไม่ไหว แล้ว แล้วเราก็จะปล่อยออกมา ฉะนั้น แม้ลักษณะอาการปวดที่ต่อเนื่องนั้น ถ้าเราสังเกต ความปวดเขามีการเกิดดับในตัวเสมอ นั่นแหละถึงบอกว่า เวทนาไม่เที่ยง แต่ที่เรารู้สึกทรมานมาก ๆ เป็นเพราะว่า เราไม่ได้สนใจ ลักษณะอาการเกิดดับของเวทนาหรือความปวดเลย ไปสนใจแค่ความรู้สึก ปวดอย่างเดียว รู้ว่าปวดมากปวดน้อย แต่ไม่ได้รู้การเปลี่ยนแปลงของความ ปวด เราจึงกาหนดไม่ได้
เรากาหนดไม่ทัน ก็ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ... เราก็ท่องย้า ว่า ปวด ปวด ปวด ปวด... แทนที่พอปวดขึ้นมา แล้วเห็นว่าปวดขึ้นมาแล้ว เบาลง ปวดขึ้นมาแล้วเบาลง หรือเริ่มขยับเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น แล้วก็ หยุด เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น แล้วก็หยุด ตรงที่เขาหยุดนี่ เขายังปวด หรือว่าหยุด ไปนิดหนึ่ง หรือว่างไปนิดหนึ่ง ? นั่นคือวิธีการสังเกต เราจะรู้สึกว่าตอนที่เขา หยุดนิดหนึ่ง เราก็หายใจได้ พอเราหายใจได้ ก็จะรู้สึกว่าทนได้สบาย ๆ การ หายใจเป็นการเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในร่างกายเรา พอเพิ่มออกซิเจนเข้าไป ก็ พอทนได้หน่อย
ในการเจริญวิปัสสนา เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น เราพอใจที่จะรู้อาการเกิด ดับของเวทนาเป็นหลัก ความปวดจะมากแค่ไหนก็ตาม ให้ไปรู้ว่า เดี๋ยวปวด เดี๋ยวเบา เดี๋ยวปวดเดี๋ยวเบา... บางคนจะมีความปวดในลักษณะเหมือนกับ ถูกบิด เหมือนเราบิดผ้าแน่น ๆ แน่นขึ้น แน่นขึ้น ปวดมาก ๆ เหมือนขา