Page 129 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 129

111
ร่างกายของเรา ๑. แข็ง ๒. หนัก ๓. เคร่งตึง ๔. โปร่งเบา แผ่วเบา อาการ ไหนเกิดขึ้นมาก็ตาม อารมณ์ไหนเกิดขึ้นมาก็ตาม ให้มีสติเข้าไปกาหนดรู้ ดูว่าเขาเปลี่ยนอย่างไร เย็นร้อนอ่อนแข็งเคร่งตึง บางคนนั่งแล้วรู้สึกมี ความร้อนผ่าวขึ้นมา ผ่าว ๆ ขึ้นมาแล้วจางหาย มีร้อนขึ้นมาแล้วก็คลาย ถามว่า เป็นอาการอะไร ? เป็นอาการเกิดดับของธาตุไฟ ลักษณะของธาตุ ไฟปรากฏขึ้นมา คือความร้อนที่ปรากฏขึ้นมา ขึ้นแล้วก็จางหายไป ขึ้นแล้ว ก็จางหายไป...
ลองสังเกตอีกนิดหนึ่งว่า ขณะที่เราตามกาหนดรู้เวทนา ที่เรารู้สึก ว่าปวดมาก ๆ นี่ เย็นหรือร้อน ? ปวดจน ปวดแสบปวดร้อน กับปวดเย็น จนถึงกระดูก ปวดจี๊ดลงไปเหมือนบาดลึก หรือว่า ปวดเหมือนมดกัด แมลง ไต่ เหมือนยุงกัด แปลบหาย แปลบหาย... ลักษณะของเวทนาก็มีความแตก ต่างกันไป ไม่ใช่ปวดเป็นก้อนเป็นแท่งอย่างเดียว จริง ๆ อาการชาก็ใช่ เป็น ลักษณะของเวทนาที่เกิดขึ้น ที่เป็นอารมณ์กรรมฐานให้เราตามกาหนดรู้
ทีน้ี ขณะที่เราตามรู้ความเวทนา แล้วจิตเราตื่นตัวขึ้น ตามรู้เวทนา ไปสักพัก มีแสงสว่างปรากฏขึ้นมาข้างหน้า มันมีอาการวาบขึ้นมา วาบขึ้นมา วาบขึ้นมา... ทาอย่างไรดีระหว่างเวทนากับอาการวาบข้างหน้า ? ให้รู้อาการ เกิดดับที่อยู่ข้างหน้า รู้อาการที่วาบ ๆ ๆ ไป ดูว่าเขาหายไปอย่างไร ตามรู้ ในลักษณะเดียวกัน อันนี้คือหลักในการพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ แล้ว บางทีพอปวดมาก ๆ อาการของหัวใจเราเต้นแรง ยิ่งปวด ยิ่งทน มันก็เต้น ตุบ ๆ ๆ ๆ ๆ เร็ว ยิ่งเต้นเร็ว แล้วเรารู้สึกว่าจะทนไม่ไหว...
ที่ตอนแรกบอกว่า ให้สังเกตว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนา เขาเป็นส่วน เดียวกันหรือเป็นคนละส่วนกัน ตอนที่เรารู้สึกปวดมาก ๆ จนจะทนไม่ไหว ลองสังเกตดูว่า ใจของเราอยู่ที่เดียวกับเวทนา หรืออยู่ใกล้เวทนา หรืออยู่ ห่างจากเวทนา ? ถ้าสังเกตก็จะเห็นเลยว่า จิตเราจะจดจ่ออยู่กับเวทนา แล้ว ก็จะรู้สึกว่าทรมาน ปวดมาก ๆ ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้ถอยจิตเราออกมาก่อน...


































































































   127   128   129   130   131