Page 127 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 127
109
อยู่ที่ไหน ? ที่หัวเข่า ที่หลัง ที่ไหล่ ที่ตัว หรือเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ? ไม่ใช่ว่า คิดว่าเขาต้องเกิดอยู่ที่ตัว แต่ให้สังเกตตาม “ความรู้สึก” จริง ๆ ไม่ต้องปรุง แต่ง ไม่ใช้สัญญา ให้รู้อารมณ์ปัจจุบันตามความรู้สึกจริง ๆ แล้วสังเกตดูว่า เวทนาที่เกิดขึ้น เขามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ? ตรงนี้ตัวสาคัญ เจตนาใน การกาหนดอารมณ์ต่าง ๆ สาคัญมาก ก็คือ “เจตนาที่จะรู้ถึงลักษณะอาการ พระไตรลักษณ์”
อาการพระไตรลักษณ์ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เขาเรียกว่า “อนิจจลักษณะ” เราเจริญวิปัสสนา พิจารณา ลักษณะของความไม่เที่ยง การเปลี่ยนแปลงแปรปรวนอยู่เสมอ แล้วก็ “ทุกข ลกั ษณะ” ไมใ่ ชท่ กุ ขเวทนาอยา่ งเดยี วนะ ความปวดเรยี กวา่ ทกุ ขเวทนา แตก่ าร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เรียกว่าทุกขลักษณะ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป ตั้งอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ เรามีเจตนาที่จะไปรู้ว่า ที่เขาเกิดแล้ว เขาจะดับอย่างไร เกิด แล้วดับอย่างไร เขาเรียก ตามรู้ทุกขลักษณะ
“อนัตตลักษณะ” คือ ลักษณะของความไม่มีตัวตน หรือบังคับเขา ไม่ได้ ไปรู้ถึงอาการที่เขาเป็นไปตามกาลังตามธรรมชาติของเขา เมื่อบังคับ ไม่ได้แล้วควรจะทาอย่างไร ? ขยับสิ จะได้หาย พอปวดขึ้นมา ทนไม่ไหว เราก็ขยับ จะได้หายไป บังคับไม่ได้แต่เปลี่ยนอิริยาบถได้ ถามว่า ผิดไหม ? เวลาปวดมาก ๆ เรามักขยับให้เวทนานั้นบรรเทาลง แต่ก็กังวลอีกว่า เป็นการ ทาผิดหรือเปล่า ? เราไม่ทนหรือเปล่า ? เราไม่สู้หรือเปล่า ?
ที่จริงเมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น อย่างที่บอกว่าเราตามรู้อาการเปลี่ยนแปลง หรืออาการเกิดดับของเวทนา มีเจตนาที่จะรู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร เปลี่ยน อย่างไร... มีอาการบิดเป็นเกลียวเป็นแท่ง วิ่งจากขาลงไป หรือจากขาวิ่งขึ้น มาที่ตัว นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของเขา แต่การเปลี่ยนแปลงนั้น อาจจะ เปลี่ยนเป็นแรงขึ้นก็ได้ เปลี่ยนแปลงเป็นเบาลงก็ได้ ไม่ว่าจะแรงขึ้นหรือ เบาลง นั่นก็คือการแสดงลักษณะของความไม่เที่ยง นั่นคือธรรมชาติที่เขา