Page 136 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 136

118
“ตั้งแต่เขาเกิดจนเขาดับ” วิธีก็คือว่า ถ้าความคิดเกิดอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้เข้ามา แล้วเรื่องใหม่ก็ตามมาเรื่อย ๆ เมื่อเรารู้ว่าความคิดที่เข้ามาก่อน ดับไปแล้ว คือมีอาการหยุดไปนิดหนึ่ง ความคิดใหม่จะมาอีกไหม ? คือต้อง มีการ “คอยระวัง”
ถา้ เราไมร่ ะวงั อยา่ งนี้ เราจะไมท่ นั ขณะทเี่ ราไมร่ ะวงั เรมิ่ ไมใ่ สใ่ จอาการ เกิดของความคิด ลักษณะอาการดับของความคิด บางทีก็จะไม่ทันไปด้วย แต่ถ้าเราระวัง แล้วความคิดเขาเกิดช้า ๆ เราปรุงแต่งไปตั้งนานแล้ว พอรู้ปุ๊บ เขาดับปั๊บ ให้นิ่ง แล้วสังเกตดูว่า เขาจะเกิดอีกไหม ? จะเกิดต่อทันทีหรือ เปล่า ? ถ้าสังเกตแบบนี้ เราจะรู้ทันตอนเขาเกิด ว่าเขาจะมาอย่างไร นั่นคือ เราใส่ใจในขณะต่อไป ที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป ตรงนี้แหละ
ทีนี้ กาหนดได้หรือไม่ได้ จะมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ เราเข้าไปดับได้ หรือไม่ได้ ถ้าเราเข้าไปบังคับเขาได้ ดับเขาได้ จะรู้สึกว่าเราดับได้กาหนดได้ แต่ถ้าบังคับไม่ได้เมื่อไหร่ เราจะรู้สึกว่ากาหนดไม่ได้ ที่จริงแล้วความหมาย ไม่ใช่เข้าไปบังคับเขา อย่างเช่น พอมีความคิดเกิดขึ้น ทั้งบัลลังก์นี้ความคิด ต้องดับไปจนเกลี้ยงไม่เกิดถึงเรียกว่าดับได้ กับการเข้าไปรู้ลักษณะอาการ เกิดดับของความคิด อันนี้ต่างกันนะ อย่างที่บอกเมื่อกี้ พอรู้ปุ๊บเขาดับไป แล้วระวังต่อไป พอเริ่มจะเกิดปุ๊บ ถ้าเราทันจุดเกิด เราจะเห็นว่าเกิดแล้ว พอสติเข้าไปรู้ เขาดับอย่างไร ? เราจะเห็นเลยว่า เขาแวบหาย จางหาย หรือ เลือนหาย ? นั่นคือเห็นลักษณะเกิดดับของความคิด
เราต้องสังเกตอีกนิดหนึ่งว่า ขณะที่เรามีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับ ของความคิดในลักษณะอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ขณะนั้นจิตใจของเรารู้สึก คล้อยตามความคิดหรือเปล่า หรือเป็นเพียงผู้กาหนดรู้เท่านั้นเอง ? และ ขณะที่เห็นเขาเกิดและดับไปอย่างนั้น จิตใจเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? วุ่นวาย หรือนิ่ง ? ลองสังเกตดี ๆ จิตที่ทาหน้าที่รู้ความคิด (ไม่ใช่ตัวความคิดนะ) กับเรื่องที่คิด เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? นี่คือสิ่งที่โยคีจะต้อง


































































































   134   135   136   137   138