Page 137 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 137
119
สังเกต ที่ต้องสังเกตอย่างนี้ เพราะเราจะได้เห็นจริง ๆ ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับ เรื่องที่คิด เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน แล้วถ้าเราไม่ปรุงแต่ง ความ คิดเขาเกิดจากไหน ?
ความคิดก็เป็นขันธ์ขันธ์หนึ่งของขันธ์ ๕ อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ที่เราห้ามเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นไปตามเหตุปัจจัย เขาเป็น อนัตตา บังคับบัญชาเขาไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทาได้คือ เข้าไปรู้อาการเกิดดับของ เขาได้ และไม่คล้อยตามอารมณ์เหล่านั้น ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าจิตเราแยก จากความคิด เขาจะปรุงแต่งอย่างไร เรารู้แล้วดับ รู้แล้วดับ จิตเราไม่คล้อย ตาม ถามว่า คิดแล้วมีเวทนาเกิดไหม ? เกิดความรู้สึกดีไม่ดีเกิดขึ้น มีความ รู้สึกชอบไม่ชอบเกิดขึ้น
ทีนี้ นอกจากสังเกตอาการเกิดดับของความคิด ก็จะมีว่าคิดบางเรื่อง แล้วรู้สึกไม่สบายใจ มีความคิดแทรกเข้ามาแล้วใจขุ่นมัว เขาเรียก มีการกระ ทบทางใจ มีผัสสะทางใจ คิด ๆ แล้ว ขุ่นมัว หดหู่ ห่อเหี่ยว รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกหนักใจ ลองสังเกตดู มีอยู่ ๒ อย่างนะ คิดแล้วรู้สึกไม่สบายใจ กับคิด แล้วเฉย ๆ ถ้าคิดแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ให้มาแก้ที่ความไม่สบายใจก่อน เพราะ ความไม่สบายใจใหญ่กว่าความคิด และอยู่ใกล้กว่าความคิด
สังเกตไหม เวลาเราคิดแล้วไม่สบายใจ อาการที่อึดอัดเร่าร้อนจะชัด มากกว่าเรื่องที่คิด แล้วยิ่งทุกข์มากเท่าไหร่ ความคิดเราจะยิ่งสับสน ความคิด จะไม่เป็นระเบียบ เพราะฉะนั้น ลองดู ให้นิ่ง ๆ แล้วมาดูที่ใจของเรา รู้สึก เป็นอย่างไร ? หนัก ๆ หดหู่ อึดอัด ? ทีนี้ จะดับอย่างไร ? ก็ใช้สติเข้าไป กาหนดรู้ ทุกข์เกิดขึ้นให้ดับให้เร็ว ทุกข์ไม่ต้องเก็บไว้นาน ยิ่งดับเร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งอิสระมากขึ้น เร็วขึ้นเท่านั้น
ถามว่า เราดับได้ไหม ? ดับได้ แต่ไม่ได้ตลอดไป ดับเป็นขณะ ทุกข์ เมื่อไหร่ก็ดับเมื่อนั้น เหมือนกิเลสของเรา เกิดเมื่อไหร่ เราก็ดับเมื่อนั้น ตอน ไหนที่ไม่เกิดก็ไม่ต้องไปหาเขา ให้รู้ในสิ่งที่เป็นอยู่ จิตเรารู้สึกสงบก็ให้รู้ว่า