Page 139 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 139

121
ใครเป็นคนทา ? ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะ “ความไม่รู้” พระพุทธเจ้าบอกว่า “ทุกข์เพราะอวิชชา” ไม่รู้อะไร ? ไม่รู้เกี่ยวกับขันธ์ ๕ นี่แหละ ทุกข์เพราะ เข้าไปยึดเอาขันธ์ ๕ ว่าเป็นของเรา เอารูปเป็นของเรา เอาเวทนาเป็นของเรา เอาสัญญาเป็นของเรา เอาสังขารเป็นของเรา
สังขารร่างกายนี้ เราบอกได้ว่าไม่ใช่ของเราหรอก เพราะเราสั่งเขา ไม่ได้ แต่เรื่องของจิตใจนี่ไม่ยอม ยังไงก็เป็นฉัน ฉันคิด ฉันปรุงแต่งไป... กลายเป็นว่ายึดเอาจิตสังขารมาเป็นเราอีก ทั้ง ๆ ที่บางครั้งห้ามเขาไม่อยู่เลย เขาประกาศตัวเขาเองว่าเขาเป็นอย่างนี้ ๆ นะ เพราะมีเหตุให้คิด เขาจึงต้อง คิด แต่เราก็พยายามว่า อย่าคิดนะ อย่าคิดนะ ฉันไม่อยากจะคิด! แต่เขามี เหตุปัจจัยก็ยังต้องคิด เพราะฉะนั้น จะทาอย่างไรถึงจะไม่เดือดร้อนกับความ คิด ? ก็นิ่งเป็น “ผู้ดู” เสีย ดูซิว่า จะคิดอย่างไร ? คิดแล้วดับอย่างไร ? ความคิดเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? เมื่อไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ? เมื่อไม่ เที่ยงแล้ว ควรหรือที่จะเข้าไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา ?
ลองสังเกตดูว่า ใหญ่ ๆ แล้วที่ทาให้เราทุกข์ เพราะเราเข้าไปยึดโดยที่ เราไม่รู้ตัว ๑. อยากให้เกิด ๒. อยากให้ดับไป ๓. ไม่อยากให้เกิดขึ้นมา และ ไม่อยากให้ดับ อันไหนที่ดี ๆ ก็อยากให้อยู่นาน ๆ อย่าเพิ่งไปนะ! อันไหน ที่ไม่ดีก็รีบ ๆ ไปซะ อย่ามานะ! พอมาก็จะรู้สึกหงุดหงิดราคาญ พอเข้า มาสถานที่ปฏิบัติปุ๊บ สถานที่ไม่คุ้นเคย ไม่เหมือนกับที่เราเคยปฏิบัติ เราก็จะ รู้สึกอึดอัด ทาไมถึงอึดอัด ? ที่แคบไป ที่กว้างไป กว้างไปก็รู้สึกโดดเดี่ยว วังเวง เยอะไปก็วุ่นวาย... แล้วแต่
แต่จริง ๆ แล้ว สังเกตดูว่า เวลาคิด แล้วมีสติกาหนดรู้ความคิด จิต จะไม่คล้อยตามความคิด เมื่อไม่คล้อยตามความคิด จิตเราก็จะนิ่ง ๆ หรือ เป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น แต่ละคนก็รู้สึกว่า อยากจะอุเบกขากับทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้น จิตใจจะได้ไม่ขึ้นไม่ลง แต่ ธรรมชาติของจิตก็มีการเปลี่ยนแปลง เขาจะเปลี่ยนอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของ


































































































   137   138   139   140   141