Page 141 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 141
123
ที่บอกว่าอารมณ์หลัก ๆ ที่เราต้องรู้ ต้องรู้ว่าเราตามรู้อะไร ตามรู้ ลมหายใจ ตามรู้อาการพองยุบ ตามรู้ความคิด หรือตามรู้เวทนา เมื่อคืนก็ พูดไปเยอะเรื่องของการกาหนดเวทนา เวทนาไม่ต่างอะไรกับความคิด เป็น อารมณ์อารมณ์หนึ่งของการเจริญสติ หรือเป็นอารมณ์หนึ่งของอารมณ์ กรรมฐานเท่านั้นเอง บางทีเราให้ความสาคัญเป็นพิเศษกับเวทนา เป็นอารมณ์ ที่พิเศษมาก ๆ เพราะว่าเวลาเกิดขึ้น เจ็บเป็นพิเศษ รู้สึกทรมานเป็นพิเศษ ทาให้เราหงุดหงิด ทาให้สติเราไม่ตั้งมั่น ทาให้เราไม่สงบ
เรารู้สึกว่าพอมีเวทนาเกิดขึ้น แล้วเรากาหนดไม่ได้ รู้สึกว่าจิตไม่ สงบเลย ตรงนี้อย่างหนึ่ง พอมีเวทนาเกิดขึ้น แล้วเราก็พยายามให้จิตเรา สงบ “อยากสงบ” กับ “อยากที่จะรู้ว่าเวทนาเขาเกิดดับอย่างไร” เจตนา คนละอย่างกันนะ วิปัสสนาให้พิจารณาอาการเกิดดับของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่ว่าดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต ดูธรรมในธรรม เพราะ ฉะนั้น ให้มีเจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของเวทนาที่เกิดขึ้น ว่าเวทนาที่เรา กาลังเผชิญหน้าอยู่นี้ เขามีอาการอย่างไร ไม่ใช่ไปทาให้สงบ พอจะทาให้ สงบ แต่ไม่สงบดั่งใจ ก็เริ่มหงุดหงิดอีกแล้ว เริ่มราคาญตัวเอง บัลลังก์นี้ไม่ ประสบความสาเร็จเลยเพราะไม่สงบ
เป้าหมายของเราคือ พยายามให้สงบ ไม่ให้มีเวทนาเกิดขึ้น กับ เป้าหมายที่จะรู้ถึงอาการเกิดดับของเวทนา มีเจตนาที่จะรู้ถึงอาการเกิดดับ ของเวทนา เจตนาตรงนี้คือความแตกต่าง เพราะฉะนั้น สาเร็จหรือไม่ สาเร็จ อยู่ที่เจตนาของเราว่าทาอะไร เวลามีเวทนาเกิดขึ้น อยากสงบ ไม่ อยากทรมาน ก็ขยับปรับตัวใหม่ ก็จะไม่ทรมานแล้ว แต่ถ้าเราจะเอาเวทนา มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เขาเรียก “เวทนานุปัสสนา” หรือตามรู้เวทนา ต้อง มีเจตนาเข้าไปรู้ว่าเวทนามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
บางทีเปลี่ยนจากซ้ายมาขวา เปลี่ยนจากที่เข่าเลื่อนลงไปที่เท้า หรือ เลื่อนขึ้นมาที่หลัง นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของเขา แล้วเมื่อเปลี่ยนขึ้นมา พอ