Page 143 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 143

125
อื่นเข้ามา
บางครั้งตัวหาย แต่ยังรู้สึกได้ถึงเสียง คือได้ยินเสียงเข้ามาแว่ว ๆ
เข้ามาในที่ว่าง ๆ เสียงแอร์ เสียงคน เสียงพัดลม เสียงนาฬิกา ที่ดังขึ้นมา ในที่ว่าง ๆ ถ้าจะทาต่อ ให้ไปสังเกตกาหนดรู้เสียงนั่นแหละว่าเขาเกิดดับใน ลักษณะอย่างไร เอาเสียงมาเป็นอารมณ์ต่อ แล้วการกาหนดอารมณ์ก็จะต่อ เนื่องไป ทาไมว่างแล้วยังไปต่อ ? เพราะยังมีว่างมากกว่านั้น “ความว่างมี หลายระดับ” ว่างแล้วรู้สึกดีอย่างไร ? นั่นคือสิ่งที่ต้องสังเกต
เพราะฉะนั้น เวลากาหนดสภาวะ ที่บอกว่ากาหนดได้ไม่ได้ ให้รู้ชัดว่า เรากาหนดอะไร บางทีกาหนดความคิด เราจะรู้สึกว่าสู้ความคิดไม่ได้ ถ้าเดิน จงกรมอยู่ แล้วมีความคิดไหลเข้ามา ไหลเข้ามา ทาอย่างไร ? ถ้าความคิด เข้ามาต่อเนื่อง ให้ยืน แล้วตามรู้อาการเกิดดับของความคิดก่อน แล้วค่อย มาตามรู้อาการเดินต่อ ถ้าเป็นอย่างนี้ เราจะรู้เลยว่ากาหนดได้หรือไม่ได้ คง เข้าใจขึ้นนะ
อีกอย่างหนึ่งก็คือ รู้สึกว่ามีปัญหาเรื่องการทาใจให้ว่าง แต่หลายคน เริ่มเข้าใจ ทาไมต้องทาใจให้ว่างก่อนก่อนที่จะกาหนดอาการต่าง ๆ ? หรือ ว่าทาใจให้ว่างแล้วทาอะไรต่อ ? ที่จริงการทาใจให้ว่าง การยกจิตขึ้นสู่ความ ว่าง เป็นการทาจิตของเราให้เข้าสู่สมาธิได้ง่าย ใจเราว่างเมื่อไหร่ก็สงบ และ ถ้าตรงกันข้ามก็คือ เมื่อไหร่ที่ใจสงบ ใจเราก็จะว่าง เพราะฉะนั้น ถ้ายกจิต ขึ้นสู่ความว่างได้เลย แสดงว่าเราลัดขั้นตอนได้
ที่บอกว่า เอาจิตมาไว้ข้างหน้าในที่ว่าง ๆ ไม่ต้องตั้งค้างไว้ตรงนั้น หรอก ว่างแล้วก็ลองเอาจิตที่ว่าง ๆ นั้นมาคลุมตัว แล้วก็สังเกตอาการไป ตามรู้อาการพองยุบ ตามรู้อาการของลมหายใจ ไปรู้อาการของเวทนา ถ้า ทาได้ เวลามีเวทนาเกิดขึ้น เอาใจที่ว่าง ๆ เป็นตัวรับรู้เวทนา ลองดู ถ้าใช้ ใจที่ว่าง ๆ รับรู้ รู้สึกดีไม่ดี ? รู้สึกทรมานไหม ? หรือทรมานน้อยลง ? สังเกตแบบนั้น


































































































   141   142   143   144   145