Page 144 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 144
126
ก่อนที่จะจบ ลองทาใจให้ว่างนิดหนึ่ง ลองดูว่า จะเติมความสุขให้ ตัวเองได้ไหม ? ทาใจให้ว่าง ๆ สบาย ๆ ลองปล่อยใจให้กว้าง ๆ หรือน้อม ใจมาข้างหน้าในที่ว่าง ๆ แล้วสังเกตว่า ใจที่อยู่ในที่ว่าง ๆ รู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง ๆ รู้สึกโปร่ง ๆ รู้สึกสบาย ? จะเป็นความสบาย ความโล่ง ความโปร่ง ความเบา อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อทาใจให้รู้สึก โล่ง ๆ เบา ๆ สบายได้แล้ว เอามาคลุมตัว หรือให้ใจที่โล่ง เบา กว้างกว่า ตัว ให้ความรู้สึกที่โล่ง ๆ เบา ๆ มาใส่ที่บริเวณหัวใจ หรือที่เรียกว่า “หทย วัตถุ” จากคอถึงลิ้นปี่
ทาไมต้องเอามาใส่ตรงนี้ ? เพราะตรงนี้เป็นที่อาศัยเกิดของจิต สบายใจก็รู้ชัดตรงนี้แหละ ไม่สบายใจก็รู้ชัดตรงนี้แหละ เวลาอึดอัดก็ชัดตรง นี้แหละ เวลาโล่งเบาก็รู้ชัดตรงนี้แหละ หนักใจ สบายใจ เบาใจ ก็รู้ชัดตรง นี้แหละ เราจะรู้สึกได้ทันที เพราะฉะนั้น ความรู้สึกอย่างนี้เรารู้สึกได้ ไม่ว่า จะอยู่ในสภาพไหนเราก็เคยเจอด้วยกันทั้งสิ้น ความหนักความเบาของจิตเรา เวลาเจอเรื่องสบายใจ รู้สึกใจโล่ง หรือเวลาปัญหาหมดไป ก็จะรู้สึกโล่ง นั่น คือลักษณะของสภาพจิตใจของเรา
เพราะฉะนั้น ลองเอาความรู้สึกที่โล่ง ๆ เบา ๆ นี่แหละมาที่บริเวณ หัวใจ และขณะที่ใจเราโล่ง ลองน้อมถึงความสุขที่เราเคยได้รับ หรือถึง บุญกุศลที่เราได้ทา ใส่เข้าไปในใจที่ว่าง ๆ โล่ง ๆ ของเรา เติมลงไปในใจที่ ว่าง ๆ โล่ง ๆ ของเรา ลองดูว่า รู้สึกอย่างไร ? หรือถ้าใครนึกไม่ออก ก็ลอง เติมความรู้สึกที่อ่อนโยนนิ่มนวล ความรู้สึกที่ดี ๆ ลงไปในใจที่ว่าง ๆ เบา ๆ ของเรา ใส่เข้าไปแล้วสังเกตดูว่า จิตใจเรารู้สึกเป็นอย่างไร ? มีความสุขขึ้น สบายใจขึ้น หรือรู้สึกอิ่มใจ รู้สึกอบอุ่นใจ ?
ถ้ารู้สึกมีความสุข มีความสบายใจเกิดขึ้นอีก ลองแผ่ความสุข ความ สบายใจ ความอ่อนโยน ความนิ่มนวล ออกไปให้กว้าง ให้กว้างกว่าตัว เหมือนตอนที่เราทาจิตให้ว่าง ให้ไกลออกไปกว่าตัวนั่นแหละ ทีนี้เปลี่ยนจาก