Page 140 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 140

122
เราคือ พอใจที่จะกาหนดรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเขา
ทีนี้ สังเกตดูว่า การปฏิบัติของเรา เราทาอย่างไร จิตเราถึงเปลี่ยนเป็น
อย่างนั้น ? นี่คือ “รู้เหตุ” ทาอย่างไรจิตถึงขุ่นมัว ? ทาอย่างไรจิตถึงผ่องใส ? ทาอย่างไรจิตถึงสงบ ? นั่นเรารู้เหตุหรือรู้วิธีทา ต้องจานะ เราทาแบบไหน เราถนัดแบบไหน จิตเราจะว่างได้ง่าย สงบได้ง่าย โล่งได้ง่าย ความทุกข์ดับ ไปเร็ว หรือป้องกันความทุกข์ได้ดีที่สุด อันนี้ต้องสังเกตนิดหนึ่ง เพราะแต่ละ คนถนัดไม่เหมือนกัน
กลับมาเรื่องการกาหนดอารมณ์ ทาไมถึงรู้สึกว่ากาหนดได้หรือ ไม่ได้ ? ถ้าเรารู้ว่าเรากาลังตามรู้อะไรอยู่ เราก็จะรู้ว่าอาการแบบไหนที่เรา กาหนดไม่ได้ บางคนจะรู้สึกว่าการกาหนดอารมณ์ “ไม่ได้” กับ “ไม่ทัน” ก็ ต่างกัน บางทีความคิดเกิดเร็วมากเลยเราตามไม่ทันเขา ไม่ใช่กาหนดไม่ได้ แต่ตามไม่ทัน ทีนี้ เวลาตามไม่ทัน ทาอย่างไร ? เราวิ่งตามไม่ทันหรอก ความคิดเดี๋ยวแวบมา แวบมา แวบมา เราวิ่งไปจับทีละตัวอย่างนี้ไม่ทัน อาการเกิดดับเยอะแยะมากมาย วิธีคือ ให้เรานิ่ง นิ่งแล้วคอยสังเกตว่า ความคิดแวบแล้วดับอย่างนี้ เดี๋ยวแวบใหม่ แวบใหม่ ไม่ต้องวิ่งตามเขา สักพักเขาก็จะหยุดเอง พอเขาช้าลง เราค่อยเข้าไป
แปลกมาก พอเรานิ่ง เขาก็จะค่อย ๆ ช้าลง เพราะอะไร ? เพราะ จิตเราสงบขึ้น สมาธิเรา จิตเราตั้งมั่นขึ้น อาการนั้นก็ช้าลงไปด้วยในตัว นั่น คือสาเหตุว่าทาไมต้องนิ่ง นิ่งเพื่อที่จะรู้นะ นิ่งแล้วสังเกตอาการ ไม่ใช่นิ่ง เฉย ๆ ไม่สนใจ ถ้านิ่งแบบไม่สนใจอาการ สติจะอ่อน สังเกต ถ้านิ่งแล้วไม่ สนใจอะไรเลย จะออกอาการเหมือนคนใจลอย เลือน ๆ ใจลอย ๆ นิ่ง ๆ ไม่รู้อะไร จิตจะไม่ตื่นตัว ตรงนั้นถึงบอกว่าสติอ่อน เมื่อสติอ่อนก็จะกาหนด อารมณ์ไม่ทัน หรือเห็นอาการเกิดดับของอารมณ์ที่เกิดขึ้นไม่ชัดเจน ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติ มีสภาวะเกิดขึ้น สังเกตดี ๆ ลองดูว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือ เปล่า อาจารย์พูดนี่อย่าเพิ่งเชื่อนะ


































































































   138   139   140   141   142