Page 149 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 149
131
เราจะไม่ตั้งมั่น สติก็จะอ่อน แต่ถ้าเรานิ่ง ๆ แล้วลืมตามองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ จะเห็นอาการเกิดดับได้
อีกอย่างหนึ่งที่เราลืมตาแล้วทาได้ก็คือ อาการในอิริยาบถย่อย หรือ ขณะที่เราเดินจงกรม เราก็ต้องลืมตาเดิน ใช่ไหม ? ไม่ต้องหลับตานะเดี๋ยว สะดุด ในอิริยาบถย่อย จะหยิบจะจับอะไร เราก็ลืมตาทาอยู่แล้ว นั่นคือยก จิตขึ้นสู่วิปัสสนา มีเจตนาที่จะสังเกตอาการเคลื่อนไหว เข้าไปกระทบ เข้าไป ห ย บิ จ บั แ ล ว้ เ ข า ม อี า ก า ร อ ย า่ ง ไ ร น นั ่ แ ห ล ะ ค อื ก า ร เ จ ร ญิ ว ปิ สั ส น า ใ น ข ณ ะ ล มื ต า เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา ก็เจริญวิปัสสนาได้
โยคี : ขณะที่จิตรับรู้ถึงลมหายใจเข้าออกอยู่จนลมหายไป ขณะนั้น จิตก็ไปรับรู้การเต้นของชีพจรที่มือทั้งสองที่วางอยู่ที่หัวเข่า จากนั้นก็ไปรับ รู้ถึงลมเข้าออกอีก พร้อมกับการเต้นของชีพจรที่มือที่วางที่เข่าทั้งสองข้าง ถูกต้องไหมเจ้าคะ ?
พระอาจารย์ : ที่จริงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชีพจร เป็น ความคิด เป็นความปวดที่เกิดขึ้น หรืออาการของลมหายใจที่เกิดขึ้น เป็น สภาวะธรรมชาติที่เขาเกิดขึ้นเอง อันนั้นไม่ผิด! สิ่งไหนที่เราปรุงแต่งให้เกิดขึ้น นั้นแหละไม่ถูก เพราะการปรุงแต่งบางอย่างเกิดจากความชอบหรือกิเลส แต่ถ้าเขาเกิดขึ้นเอง ไม่ผิด! สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า ขณะที่เราตามรู้อาการ ของลมหายใจ แล้วลมหายใจหมดไป อาการชีพจรเต้น ๆ ที่มือ ก็ไปรู้ที่ ชีพจรที่มือว่าเขามีอาการเกิดดับอย่างไร สังเกตดูดี ๆ ว่า อาการที่กล่าวมา เมื่อกี้ เขาเกิดพร้อมกันหรือคนละขณะ ? เมื่อกี้เกิดคนละขณะ จากลมหายใจ ไปที่อาการชีพจร
แต่ถึงแม้ว่าจะเกิดพร้อมกัน อย่างเช่น บางครั้งเวลาเรานั่ง มีทั้งความ คิด มีทั้งความปวด มีทั้งอาการพองยุบ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ขณะที่ ๓ อารมณ์เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน วิธีแก้ คือ ให้นิ่ง แล้วสังเกตดูว่า อาการไหน ชัดที่สุดระหว่างความคิด ความปวด และอาการพองยุบ ให้เลือกอารมณ์ใด