Page 171 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 171

153
เกิดขึ้น อันนี้จะได้เห็นจิตอีกอย่างหนึ่งว่า แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเรื่องที่คิด ก็มีความแตกต่างกัน
และอีกอย่างหนึ่ง การดูจิตในจิตนั้น ขณะที่เราตามรู้อยู่ ให้สังเกต ดูว่าสภาพจิตใจเรารู้สึกอย่างไร ? ไม่ว่าการตามรู้อาการของลมหายใจ ตาม รู้อาการพองยุบก็ตาม ขณะที่เราตามกาหนดรู้อาการอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่ง หนึ่งที่เราจะรู้สึกได้ก็คือ จิตใจเรารู้สึกอย่างไร... รู้สึกสงบ รู้สึกนิ่ง รู้สึก กระสับกระส่าย รู้สึกขุ่นมัว หรือรู้สึกไม่ตื่นตัว สลัว ๆ ซึม ๆ ? ให้สังเกต ว่าจิตเรารู้สึกอย่างไร
อีกอย่างหนึ่งก็คือ “รู้ธรรมในธรรม” สภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นในขณะ ที่เราเจริญกรรมฐานก็คืออาการของรูปนามนั่นเอง อาการพองยุบเป็นอาการ ของรูป เวทนาที่อาศัยรูปเกิด ก็เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ความคิดก็เป็น ธรรมชาติที่เกิดขึ้น จิตเราก็เป็นสภาวธรรม เพราะฉะนั้น คาว่า “สภาวธรรม ที่ปรากฏแก่ใจของเรา” ก็คืออาการของรูปนามนั่นเอง อาการของรูปนามที่ กาลังปรากฏขึ้นกาลังเป็นไปอยู่นั้น เป็นไปในลักษณะอย่างไร และขณะที่เรา ตามรู้อาการเหล่านั้น สภาพจิตใจเป็นอย่างไร ย่อลงมาสั้น ๆ ที่เราพิจารณา อาการของลมหายใจเข้าออก อาการพองยุบ อาการของเวทนา รู้อาการของ จิตเรา ก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
การเจริญกรรมฐาน เราอาศัยอิริยาบถทั้ง ๔ นอกจากการนั่งกาหนด ดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต และดูธรรมในธรรมในขณะที่ เรานั่งแล้ว อีกอย่างหนึ่ง อิริยาบถทั้ง ๔ ก็คือ อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง หรือ นอน เราจะกาหนดอย่างไร ? ขณะนั่ง เรารู้ว่ากาหนดอย่างไรแล้ว ขณะที่เดิน จงกรม การกาหนดอารมณ์ สติหรือจิตเราควรจะอยู่ที่ไหน ? คือกาหนดที่ อาการเดิน การก้าวเท้าของเรา แต่ละก้าว แต่ละก้าว... ใครจะใช้คาบริกรรม กากับก็ได้ หรือไม่ใช้คาบริกรรมกากับก็ได้ จะขวาย่างหนอซ้ายย่างหนอก็ได้ หรือจะรู้ชัดถึงอาการเคลื่อนไหวไปเลยก็ได้


































































































   169   170   171   172   173