Page 174 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 174
156
ว่า รูปนามขันธ์ ๕ ที่กาลังปรากฏอยู่นี้เป็นไปในลักษณะอย่างไร
ทบี่ อกวา่ รปู นามขนั ธ์ ๕ ตงั้ อยใู่ นกฎของไตรลกั ษณ์ คา วา่ “ไตรลกั ษณ”์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เปลี่ยนแปลง แปรปรวน ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บังคับไม่ได้ หรือไม่มีใครเป็นเจ้าของนั้น เป็นอย่างไร ? ถ้าเรามีเจตนาที่ จะเข้าไปรับรู้อยู่กับปัจจุบันจริง ๆ ก็จะเห็นว่า แต่ละอารมณ์ แต่ละอาการ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น เขาเกิดดับในลักษณะอย่างไร การที่เรากาหนดรู้ถึงการ เกิดดับเปลี่ยนแปลง และเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเขานั้น นั่นคือ ลักษณะของสภาวญาณ หรือที่เรียกว่า “ปัญญา” ที่เราเห็นจริง ๆ ไม่ใช่ ตรรกะ ไม่ใช่ความคิด ไม่ใช่เป็นการคาดเดา แต่เป็นการกาหนดรู้ และเห็น
จริงว่าเป็นอย่างนี้ อย่างนี้
การกาหนดรู้ในลักษณะอย่างนี้ จะคลายความสงสัยในธรรมของ
เราเอง ว่าสภาวธรรมเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือเปล่า เกิดดับจริง ๆ ไหม และถ้าเห็นเกิดดับแล้วทาให้จิตใจเราเป็นอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นมาไม่ใช่แค่ เรารู้ แต่เป็นการเปลี่ยนสภาพจิตของเรา เป็นการแก้ทิฏฐิของเรา เมื่อไหร่ ที่เห็นตามความเป็นจริง ทิฏฐิความเข้าใจผิดก็จะหายไป จะรู้แจ้งเห็นจริง ความเข้าใจที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็เกิดขึ้น ว่ารูปนามขันธ์ ๕ จริง ๆ แล้วเป็น อย่างไร
ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นของไม่เที่ยง ตั้งอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ล้วนเกิดขึ้นมาด้วยเหตุปัจจัย แล้ว เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย และรูปนามขันธ์ ๕ อันนี้มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่พิจารณา ก็จะไม่เห็น! เพราะฉะนั้น เราก็จะไม่เห็นว่าการเกิดดับ หรือการเกิดตายของคนเรานั้นมีอยู่ทุกขณะ ถ้าเราเห็นการเกิดดับเปลี่ยน แปลงในลักษณะอย่างนี้ การยึดมั่นถือมั่นในรูปนามว่าเป็นตัวเราของเรา ก็ จะดับไป หรือไม่เกิดขึ้น เมื่อไหร่ที่เห็นจริง จิตจะคลายอุปาทาน ก็จะผ่องใส มากขึ้น หรือสะอาดยิ่งขึ้น