Page 191 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 191
แยกรูป – แยกนาม
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
เมื่อเช้าเขาถามอาจารย์ว่า จะให้โยมกล่าวคาพิจารณาอาหารก่อนทาน อาหารไหม ? ดี พิจารณาได้ การพิจารณาอาหารจะมีอยู่ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่ง เราพิจารณาว่า การรับอาหารเข้าไปนั้นเป็นไปเพื่ออะไร ? เพื่อการดารงอยู่ ของรูปของเรา เพื่อให้เกิดกาลังทางกายเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นไปเพื่อความ เพลิดเพลิน และอีกส่วนหนึ่ง เราพิจารณาเพื่อไม่ให้การหลงยินดีในรสชาติ ของอาหาร หรือว่าติดในรสชาติของอาหาร
วิธีที่จะกาหนดเพื่อไม่ให้ติดรสชาติของอาหาร ทาอย่างไร ? ไม่ใช่ไม่รู้ รสชาตินะ “ไม่ติดในรสชาติ” กับ “ไม่รู้รสชาติ” คนละอย่างกัน! ถ้าไม่รู้รสชาติ เผ็ดก็ไม่รู้ เปรี้ยวก็ไม่รู้ เค็มก็ไม่รู้ แสดงว่าประสาทลิ้นของเราไม่ค่อยปกติ แล้ว คาว่า “ไม่ติด” กับ “ไม่รู้” คนละอย่างกัน และคาว่า “ไม่ยินดี” กับ “รู้ ว่าดีหรือไม่ดี” ก็คนละอย่างกัน! เรารู้ว่าสิ่งนี้ดี แต่ยินดีหรือไม่ยินดี เราต้อง แยก ถ้าไม่แยก เราจะเลือกสิ่งที่ดีให้กับตัวเองได้อย่างไร ? อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ กับรูปนามอันนี้ ? พอเห็นสีสวย ๆ ฉันชอบสีสวย ๆ แต่รับ เข้าไปปุ๊บ เป็นพิษต่อร่างกาย ก็ไม่ได้อีก เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณา
การพิจารณาเพื่อไม่ให้เราติดในรสชาติ หรือเพื่อไม่ให้เกิดกิเลส นั่นเอง สรุปแล้ว รับอาหารอย่างไรจึงไม่รับด้วยความรู้สึกที่มีกิเลสเข้าไป เกี่ยวข้อง ? หมายถึงว่าเรารู้ประโยชน์ของอาหารที่เรารับเข้าไปเท่านั้นเอง วิธี สังเกตก็คือว่า เมื่อเราตักอาหารเข้าปากปุ๊บ มีการพิจารณา ๑. จะพิจารณา รสชาติของอาหาร หรือ ๒. จะพิจารณาอาการเกิดดับของการเคี้ยว อันนี้ ต้องแยกนะ บางทีเราไม่รู้ว่าจะกาหนดอาการเคี้ยวอย่างไร รู้แต่ว่าเคี้ยว ๆ นับ ๑ ๒ ๓ แล้วก็กลืน
วิธีกาหนดรู้เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติ ลองเอาความรู้สึกที่เบา ๆ ว่าง ๆ
173