Page 193 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 193

175
เข้าสู่สภาวะปรมัตถ์ได้ง่าย เพราะฉะนั้น เวลาเราทานอาหาร เคี้ยวช้า ๆ มีสติ กาหนดรู้ แต่ถ้าเราไม่รู้ว่ากาหนดอะไร เราก็ได้แต่เคี้ยวให้ช้าที่สุดเท่าที่จะ ช้าได้ แต่ก็ไม่เห็นอะไรอีกนั่นแหละ เห็นอย่างเดียวก็คือช้า ๆ ฉะนั้น จึงต้อง รู้เจตนาว่าเรากาหนดช้าเพื่ออะไร และเราจะกาหนดอะไร ถ้าเรารู้ว่ากาหนด รสชาติ ก็เอารสชาติไปก่อนเลย จุดกระทบไม่ชัดไม่เป็นไร รสชาติอันนี้ขึ้น มาแล้วดับอย่างนี้ ตรงนั้นแหละ นี่คือวิธีการกาหนดในอิริยาบถย่อย กาหนด การทานอาหาร
และอีกอย่างหนึ่งก็คือ “การกาหนดต้นจิต” เมื่อวานก็บอกคร่าว ๆ ว่า จริง ๆ การกาหนดต้นจิตและอิริยาบถย่อยเป็นของคู่กัน ต้นจิตไม่ใช่สังเกต แค่ตอนยกมือหรือยกเท้า แม้กระพริบตาก็ยังต้องสังเกต เวลาเราจะพูด แต่ละคา สังเกตไหมว่า จิตเรารู้สึกก่อนไหม ? ตรงนี้! ถ้าทาได้แบบนี้จะดี มาก ๆ เลย เพราะว่าในชีวิตปกติของเรา อิริยาบถย่อยจะเยอะกว่าอิริยาบถ หลัก เพราะฉะนั้น ในอิริยาบถย่อย ถ้าเราใส่ใจต้นจิตก่อนที่จะขยับ ก่อน จะพูด ก่อนที่จะทา ก่อนที่จะเคลื่อนไหวในทุก ๆ ขณะ สติเราก็จะอยู่กับ ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
การมีเจตนาที่จะรู้ระหว่างต้นจิตกับอาการ เขาจะต่อเนื่องกัน ต้นจิต เรารู้ก่อนปุ๊บ จิตก็สั่งก่อน สั่งแล้วอาการเคลื่อนไหวก็ตาม เมื่อรู้ต้นจิตแล้วก็ สังเกตอาการของอิริยาบถย่อยต่อไป ต้นจิตกับอิริยาบถย่อยสังเกตต่อเนื่อง กันไป อันนี้จะดี! มีอยู่อย่างหนึ่งที่จะทาให้เรากาหนดต้นจิตกับอิริยาบถย่อย ได้ดีก็คือว่า จิตเราจะต้องว่าง ถ้าเราไปเพ่งไปจ้องเมื่อไหร่ เราจะกาหนด ไม่ทันจิตเรา เพราะเราจะล็อคตัวเอง แล้วจิตเราจะถูกล็อคเลย แล้วก็กลาย เป็นของหยาบ
ลองสังเกตดูสิ พอเราทาให้จิตเราว่างปุ๊บ ให้จิตที่ว่างเบาคลุมตัวเรา ให้กว้างกว่าตัวเรา ลองดูว่า เวลาเราจะขยับ เขารู้สึกขึ้นมาทันทีหรือเปล่า ? จับที่ความรู้สึกของเรา จับที่จิตเรา พอจะขยับปุ๊บ จิตก็รู้สึกก่อนไหมก่อน


































































































   191   192   193   194   195