Page 192 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 192
174
ไว้ในปากของเรา เมื่อคืนที่ให้เอาความรู้สึกเบา ๆ ไปที่สมอง แล้วสมองรู้สึก โล่ง ๆ ใช่ไหม ? ถ้าเอาความรู้สึกที่เบา ๆ มาไว้ที่ปาก ลองสังเกตอาการที่ เกิดขึ้น ทีนี้ต้องมีเจตนาแล้ว เวลาอาหารเข้าปาก รสชาติไหนชัด เช่น สมมติ ว่าเปรี้ยว เปรี้ยวแล้วดับอย่างไร เค็มแล้วหายอย่างไร เผ็ดเขาหายอย่างไร... เกิดแล้ว รู้แล้ว เขาดับ อันนี้กาหนดรู้อาการเกิดดับของรสชาติที่เกิดขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เราแยกในลักษณะอย่างนี้ ความรู้สึกยินดีในอารมณ์นั้นจะ น้อยลง รู้แต่การเกิดดับของอารมณ์นั้น ๆ
อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปรู้ที่ “จุดกระทบ” ของการเคี้ยวแต่ละคา แต่ละ ขณะ กระทบแล้วเขาดับอย่างไร ? รสชาติที่เกิดขึ้น ถึงแม้จะอยู่บริเวณ ปาก ถามว่า ไม่มีรูปร่างของปาก แล้วรสชาติที่เกิดขึ้นมานั้นตั้งอยู่ที่ไหน ? อยู่ในที่ว่าง ๆ หรือเปล่า ? อันนี้ต้องมีเจตนาที่จะสังเกตนะ ถ้าไม่มีเจตนา ที่จะรู้ในลักษณะอย่างนี้ เขาก็จะเป็นปกติเหมือนที่เคยเป็น ถ้าเรามีเจตนา ที่จะรู้แบบนี้ เราก็จะเห็นว่าอาการที่เกิดขึ้น เขาเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ถ้าเกิดอยู่ ในที่ว่าง ๆ เมื่อไหร่ แสดงว่าขณะนั้นเราพิจารณาอย่างไม่มีตัวตน ไม่มีเรา มี แต่สติรู้อาการที่เกิดขึ้น
ถ้ากาหนดรู้อย่างนี้ เราจะไม่ติดในรสชาติ และสามารถเห็นอาการ เกิดดับของรสชาติที่เกิดขึ้น และเห็นอาการเกิดดับของการขยับ ฟันกระทบ อาหาร หรือฟันกระทบกับฟัน เขาดับในลักษณะอย่างไร ถ้าสังเกตอย่างนี้ เราจะรู้อาการพระไตรลักษณ์ และจะเข้าสู่ปรมัตถ์ มากกว่ารู้บัญญัติ ความ เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นเราเป็นเขา เป็นรสชาติที่เป็นกลุ่มก้อน เมื่อกาหนดรู้ ในลักษณะอย่างนี้ อุปาทานก็ไม่เกิดขึ้น ความยินดีพอใจในอารมณ์นั้นก็จะไม่ ปรากฏ รู้แต่ว่าเปรี้ยวอย่างนี้ หวานอย่างนี้ อร่อยก็คือแบบนี้ แล้วก็หายไป
และอีกอย่างหนึ่ง ทาตัวของเราให้ว่าง เวลาอาหารลงไป เขาลงไป ที่ไหน ? ลงไปในลาไส้ หรือลงไปที่ว่าง ๆ ลงไปที่คอ หรือหายเข้าไปในที่ ว่าง ๆ ? สังเกตแบบนี้ เราจะเห็นแต่อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตัวนี้จะ