Page 194 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 194
176
ที่จะขยับ ? เขารู้สึกก่อนนิดหนึ่ง ตรงนั้นคือ “ต้นจิต” ยังไม่เป็นคาพูดนะ ไม่ใช่คาว่า “อยาก” ตอนที่เราใช้คาว่า “อยาก” จริง ๆ แล้วเป็นขณะที่ ๒ ที่ ๓ ของจิตแล้ว เพราะขณะแรกจิตเราไปถึงอาการเรียบร้อยแล้ว จิตมันสั่ง ไปที่อาการ จะขยับมือ ก็สั่งไปที่มือเรียบร้อยแล้ว จริง ๆ สังเกตดูสิ พอเรา จะขยับมือปุ๊บ จิตมันไปที่มือ จนเราสะดุดแล้ว มาหยุดใหม่ แล้วมาบริกรรม ว่า “อยากหนอ อยากหนอ” หลายขณะเลย
เพราะฉะนั้น วิธีการกาหนดต้นจิตให้ทันก็คือ ทาจิตเราให้ว่าง ๆ เบา ๆ แล้วก็สังเกตอาการ จับที่ความรู้สึกหรือดูที่จิตเป็นหลัก เราก็จะทันจิต ขณะแรก หรือที่เรียกว่า “ต้นจิต” จิตที่ไม่มีการปรุงแต่ง และการสั่งงานของ ต้นจิต ธรรมชาติของจิต เขาจะไม่เป็นภาษา แต่ “รู้สึกทันที” ลองสังเกตดูสิ โยมกระพริบตานี่ ก่อนจะกระพริบรู้สึกไหม ? นิดหนึ่ง แล้วเขาก็แวบ นิด หนึ่ง แล้วก็แวบ ไม่ใช่ว่าอยากกระพริบ แต่รู้สึกปุ๊บเขาก็แวบ นั่นคือต้นจิต ลองสังเกต ใช้บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น เวลาเราเดินไปทาธุระ ทาอะไรก็แล้วแต่ ทุกอิริยาบถใช้ได้หมด เพราะเป็นเรื่องปกติของชีวิตเรา อันนี้อย่างหนึ่ง
ถามว่า ถ้าอยู่ที่บ้านจะปฏิบัติอย่างไร ? ก็ปฏิบัติเหมือนอยู่ที่นี่แหละ เพียงแต่ว่าเราทาอะไรเร็วขึ้น คล่องแคล่วว่องไวขึ้น การที่เราจะทาอะไรไว ๆ แล้วมีสติรู้เท่าทัน ต้องให้สติเราใหญ่กว่าตัว ให้จิตเรากว้างกว่าตัว แล้วเรา จะรู้ทันว่าอาการเคลื่อนไหวของเราว่าเป็นอย่างไร สังเกต เมื่อไหร่ก็ตามที่ สติเราเล็กกว่าอาการ เราจะไม่ทัน แต่ถ้าสติเรากว้างกว่าตัว อะไรเกิดขึ้นมา ก็พร้อมที่จะรับรู้
เหมือนเมื่อคืนนี้ที่บอก ให้จิตที่ว่างเบากว้างเท่าศาลา แล้วรับรู้ ให้จิต ที่ว่างเบากว้างกว่าเรื่องที่คิด แล้วใช้จิตที่เบารับรู้เรื่องที่คิด รู้สึกเป็นอย่างไร ? เรื่องที่คิดเข้ามารบกวนจิตใจเราหรือเปล่า หรือเขาเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ? นี่คือ การสังเกต ทาไมเราถึงต้องกาหนดรู้แบบนี้ ? การกาหนดแบบนี้เพื่อป้องกัน อกุศลที่อาศัยอารมณ์นั้นเกิด อกุศลจิตไม่เกิด ความรู้สึกขุ่นมัวที่จะอาศัย