Page 196 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 196

178
เป็นเราหรือเปล่า หรือแค่รู้สึกสุขเท่านั้นเอง ? ตรงนี้เป็นความสุขที่ไม่อิง อามิส เขาเรียก “นิรามิสสุข” สุขที่เกิดจากจิตที่เป็นกุศล สุขจากจิตที่เป็นบุญ ไม่ใช่ได้สิ่งของแล้วเป็นสุข
เพราะฉะนั้น ความสุขเหล่านี้เอามาเป็น “กาลัง” ของเรา เอาจิตที่ สุขนี้แหละมาหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้มีความสดชื่น ไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง ง่าย เมื่อไหร่ที่เรามีความสุขแบบนี้ สังเกตไหม เวลาใจเราอิ่ม ใจเราเต็ม เรามีความสุข เวลาคิดถึงอะไร เรารู้สึกเป็นอย่างไร ? อยากเก็บไว้คนเดียว หรืออยากเผื่อแผ่คนอื่น ? คิดถึงคนที่เรารู้สึกดี ๆ ด้วยใช่ไหม ? ตรงนี้เขา เรียกเมตตาเกิดทันที พอเรามีความสุขเมตตาก็เกิด อยากให้คนนั้นมีความ สุข อยากให้คนนี้มีความสุข
และขณะที่เรามีความสุขแบบนี้ สมาธิเกิดขึ้นง่าย แล้วตั้งอยู่ได้นาน ฌานเกิดขึ้นได้เร็ว แล้วเราเอาความสุขนี้แหละมาใช้ในการปฏิบัติ เดินก็ให้ เดินอยู่ในความสุข นั่งก็นั่งอยู่ในความสุข พูดคุยก็พูดผ่านความสุข ฟังเสียง ก็ผ่านความสุข สังเกตว่าอารมณ์จะกระทบน้อย โดยธรรมชาติของคนเรา เวลามีความสุข โทสะเกิดได้ยาก เวลามีความสุขมาก ๆ เวลาคนพูดอะไร เข้ามา ก็ไม่เป็นไร เรื่องเล็ก! ทาไมเราถึงรู้สึกว่าเรื่องเล็ก ? เพราะใจเราเต็ม แต่เมื่อไหร่ที่ใจเรารู้สึกแห้งแล้ง ห่อเหี่ยว หรือแคบลง เวลากระทบมา เรื่อง เท่าเดิม แต่รู้สึกใหญ่กว่าเดิม หนักกว่า จะเกิดความทุกข์ได้เร็ว โทสะเกิดง่าย
เพราะฉะนนั้ การใชค้ วามสขุ แบบนใี้ นการรบั รอู้ ารมณ์ เปน็ การปอ้ งกนั ตัวเองได้อย่างหนึ่ง ทาบุญไว้แล้วอย่าลืมเอามาใช้บ่อย ๆ ที่เรียก “ปุญญา- นุสติ” เคยระลึกถึงบ้างไหม ? อย่ากลัวติดบุญ ไม่ต้องกลัวติดสุข แต่เอาสุข มาใชเ้ พอื่ ทจี่ ะเจรญิ สตติ อ่ ไป พอนอ้ มเขา้ มาแลว้ ทา ใหใ้ จเรามคี วามสขุ เวลาเรา นั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน เราก็ตามรู้อาการเกิดดับของรูปนามอย่างมีความสุข ไม่ใช่ตามรู้อย่างเคร่งเครียด ถ้าตามรู้อย่างเคร่งเครียด เราก็จะรู้สึกอึดอัด แล้วก็มีแต่ความอยาก อยากให้มันเป็นอย่างนั้น อยากให้มันเป็นอย่างนี้...


































































































   194   195   196   197   198