Page 197 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 197

179
แต่ถ้าเราใช้จิตที่สุขเข้าไปตามรู้ ก็จะรู้ว่าเขาเปลี่ยนอย่างนี้ ต่อไปเขา จะเป็นอย่างนั้น เข้าไปอีกเปลี่ยนอย่างนี้ ดับอย่างนี้ เกิดอย่างนั้น... ตามรู้ แบบนี้เป็นการตามรู้ด้วยความรู้สึกที่ “ไม่มีตัวตน” ถ้าเรามีความพอใจใน การตามรู้อาการเกิดดับ ไม่ผิด! เอาความสุขนั้นมาเป็นกาลัง เขาเปรียบเทียบ บุญเหมือนแพที่เราอาศัยข้ามฟาก แต่เวลาข้ามฟากก็อาศัยกาลังในการพาย มีสติคอยคัดท้ายให้ไปตรงทาง ใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น เราน้อมถึงบุญเข้า มา แล้วก็เอามาใช้กับชีวิตของเรา สังเกตอาการเกิดดับไป แต่ไม่ใช่ติดบุญ
ถ้าเป็นความสุขแบบไม่มีตัวตน เป็นนิรามิสสุข สุขได้ทุกที่ทุกเวลา ที่เราต้องการ ถ้าเป็นอารมณ์ฌาน ก็ยกจิตขึ้นสู่ฌานได้ตลอดเมื่อปรารถนา แสดงว่าคนนั้นต้องมีความชานาญในการยกจิต ในการเข้าออก ถามว่า เรา ทาได้ไหม ? ได้! ทาไมจะไม่ได้ ? แต่เราไม่เข้าใจเท่านั้นเอง เลยได้แต่ทาบุญ เอาไว้ ไม่ค่อยได้เอามาใช้ เรามาใช้แล้วไม่หมดหรอก เพราะบุญยิ่งใช้ยิ่งเยอะ จิตเรายิ่งดีก็ยิ่งทาบุญได้มากขึ้น คิดสิ่งที่ดี ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ใจเราดีก็จะ คิดส่วนดี คิดถึงเรื่องดี คิดจะทาสิ่งดี มันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น ลองดู
ยิ่งเราเอาความสุขมาเติมให้เต็ม แล้วสังเกตอาการในต้นจิต อิริยาบถ ย่อย พอใจที่จะกาหนดรู้ แม้แต่ตอนทานอาหาร เมื่อกี้ให้กาหนดอาการ เกิดดับของรสชาติ ตอนนี้ลองเพิ่มความสุขเข้าไปในคาข้าว แล้วเวลากลืน กลืนเอาความสุขเข้าไปด้วยไหม ? ไม่ใช่สุขเพราะได้รสชาติอาหารที่ดี แต่สุข เพราะได้กลืนความสุขเข้าไป รู้สึกอย่างไร ? อันนี้ลองดูนะ ปฏิบัติแล้วเป็น อย่างไร ดีไม่ดีอย่างไร ลองเล่าให้ฟังสักนิด
ช่วงนี้ก็ขอจบไว้แต่เท่านี้ก่อน ต่อไปใครจะส่งอารมณ์ ก็ไปที่ห้องสอบ อารมณ์กัน เจริญพร


































































































   195   196   197   198   199