Page 200 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 200
182
เขาไม่บอกว่าเป็นเรา นั่นคือความรู้สึกว่าเป็นเราก็หายไป เพราะฉะนั้น ถ้า เราสังเกตแบบนี้จะเห็นว่า เมื่อไหร่ขณะใดที่ความมีตัวตนเกิดขึ้น เราจะบอก กับตัวเองได้ว่า ขณะนี้ความมีตัวตนของเราเกิดขึ้นแล้ว สังเกตดูง่าย ๆ เมื่อ ไหร่ก็ตามที่มีความเป็นเราเกิดขึ้น มีตัวตนเกิดขึ้น จะรู้สึกมีน้าหนัก ใจก็จะ รู้สึกหนัก ๆ รูปก็รู้สึกหนัก ๆ เมื่อไหร่ที่เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก บริเวณ รูปจะรู้สึกเบา ๆ ว่าง ๆ โล่ง ๆ นี่คือการดับความเป็นเรา ละความเป็นอัตตา
ทีนี้ พอว่างเบาแล้ว ทาอย่างไร ? อันนี้แหละสาคัญ! ทาจิตให้เบา เพื่ออะไร ? ทาจิตให้ว่างเพื่ออะไร ? ที่จริงต้องดูว่า จิตที่ว่างเบา เราไปใช้ ประโยชน์อะไรได้บ้าง ? โดยธรรมชาติของเรา ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรารับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ด้วยจิตประเภทไหน ? ด้วยความ รู้สึกที่เป็นกุศลหรืออกุศล ? ด้วยจิตที่มีตัวตน หรือด้วยความรู้สึกที่ว่าง ๆ ไม่มีเราไม่มีเขา มีแต่จิตเท่านั้นที่รับรู้ ? จะให้ผลแตกต่างกัน! ลองสังเกตดู
การพิจารณาแบบนี้ ต้องสังเกตต้องพิจารณาเองว่า ขณะที่รับรู้ด้วย ความรู้สึกที่มีเราเป็นผู้รับรู้ อารมณ์ที่ปรากฏเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจก็ตาม เขาเกิดอยู่ที่ไหน ? ขณะที่เรามี ความรู้สึกว่า “เรา” เป็นผู้รับรู้ เวลาได้ยินเสียง เสียงชัดอยู่ที่ไหน ? ชัดเข้า มาที่ตัวเรา หรืออยู่ข้างนอกในที่ว่าง ๆ ? ถ้า “ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา” เสียง ที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ที่ไหน ? เข้ามาถึงตัว หรืออยู่ในที่ว่าง ๆ ? สังเกตแบบ เดียวกัน จะเห็น “ความแตกต่าง” ของอารมณ์ที่เกิดขึ้นว่า การรับรู้อารมณ์ ต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกที่มีตัวตนกับไม่มีตัวตนนั้น ต่างกันอย่างไร
การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกที่มีเรากับไม่ได้บอกว่าเป็น เรา ต่างกันอย่างไร ? การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกว่ามีเรากับไม่มี เรา อันไหนสบายกว่ากัน ? การรับรู้ด้วยความรู้สึกที่มีเรากับไม่มีเรา อัน ไหนอิสระกว่ากัน ? การรับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีเรากับมีเรา อันไหนทาให้ อุปาทานเกิดได้ง่ายกว่า ? หรือการรับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีเรากับมีเรา อัน