Page 202 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 202
184
ถ้าปรุงแต่งด้วยอกุศลจิต ก็คิดในเรื่องที่ไม่ดี ปรุงแต่งในเรื่องที่ไม่ดี นี่คือ การดูจิตของเรา
เพราะฉะนั้น ถ้าเราปรุงแต่ง ให้การปรุงแต่งนั้นเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ เรา เปน็ ผดู้ กู ารปรงุ แตง่ อายอุ ารมณเ์ ขาเปลยี่ นไปอยา่ งไร ? ตา่ งจากเดมิ อยา่ งไร ? ยืดเยื้อ หรือว่าสั้น ๆ แล้วก็หมดไป ? ทาไมการปรุงแต่งจิตของคนเราถึง มีความยืดเยื้อหรือสั้น อายุอารมณ์ตั้งอยู่นานหรือสั้น ๆ ? ถ้าสังเกตดี ๆ เราจะเห็นว่า การที่จิตเราเสวยอารมณ์อันไหนอยู่นาน เสพอารมณ์ไหนนาน เพราะเกิดจากความพอใจอย่างหนึ่ง เกิดจากการไม่เข้าใจสิ่งนั้นอย่างหนึ่ง เกิดจากการคล้อยตามอารมณ์นั้นอย่างหนึ่ง เป็นเพราะว่าเราสรุปอารมณ์นั้น ไม่ได้อย่างหนึ่ง คือสรุปไม่ได้ว่าเป็นอะไร ต้องทาอย่างไร...
ถ้าสรุปได้แล้ว และเรากาหนดรู้อาการที่เกิดขึ้นตามที่เป็นจริง ไม่นาน อาการนั้นก็เปลี่ยนไป ดับไป นั่นเป็นธรรมชาติของรูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น มา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เขาตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ที่เราสวดมนต์เมื่อ เช้านั่นแหละ รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจา สัญญาอนิจจา... เราก็บอกธรรมชาติ ของเขาของขันธ์ตรงนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เกิดขึ้นมาแล้วดับไป มีแล้วหายไป
แต่ทาไมเราไม่พอใจที่จะกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ อารมณ์อันนั้น ? แต่พยายามปฏิเสธอารมณ์นั้นว่า อย่าเกิดนะ! อย่ามา รบกวนนะ! กลายเป็นว่า ยิ่งเราปฏิเสธ ความหงุดหงิดราคาญใจยิ่งเกิดขึ้น เพราะปฏิเสธแล้วเขาไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เมื่อไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ความฟุ้งซ่านราคาญใจตัวเองก็เกิดขึ้น ชักจะหงุดหงิดราคาญตัวเอง ทาไม ต้องเป็นอย่างนี้! ดีไม่ดีก็พาลราคาญคนอื่นไปด้วยว่า ทาไมเขาถึงทาอย่าง นั้น! ทาไมเขาถึงเป็นอย่างนี้! กลายเป็นว่าพาลไปถึงเรื่องอื่น ทั้ง ๆ ที่จุดเริ่ม ต้นเกิดจากความรู้สึกหรือจิตของเราเอง เพราะจิตเราไม่สงบ เพราะมีความ เป็นเราเกิดขึ้น แล้วก็ปฏิเสธอารมณ์