Page 203 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 203

185
แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพอใจที่จะกาหนดรู้ อารมณ์เหล่านั้นไม่ใช่ อปุ สรรค ไมใ่ ชป่ ญั หาของการเจรญิ กรรมฐาน เพราะอารมณก์ รรมฐานทปี่ รากฏ ขึ้นมา อย่างที่บอกว่า ดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต แล้วก็รู้ ธรรมในธรรม ถามว่า ความคิดที่เกิดขึ้นจัดเป็นอะไร ? ก็คืออารมณ์ที่เกิด กับใจของเรา หรือที่เรียกว่าเป็นการ “ดูจิต” อย่างหนึ่ง ที่เรารู้ว่าจิตคิดอะไร จิตเป็นอย่างไร การพิจารณาดูจิตในจิต มีอยู่ ๓ อย่าง ๑. รู้ว่าจิตคิดอะไร แล้วเกิดดับอย่างไร ๒. ขณะที่คิด สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร คิดแล้วใจเรา รู้สึกสงบ ว่าง ๆ ตั้งมั่น ผ่องใส เห็นว่าความคิดนั้นเกิดอยู่ในความใส ความ สงบ ความว่าง ความเบา อันนี้คือดูสภาพจิตใจ
และ ๓. แม้แต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ความคิดที่กาลังปรากฏอยู่ หรือจิต ที่ทาหน้าที่รู้ถึงความรู้สึกที่สงบ ว่าง โล่ง โปร่ง เบา หรือใสเอง ตัวจิตที่ทา หน้าที่รู้เอง เขามีการรู้แล้วดับไปหรือเปล่า ? มีอาการทาหน้าที่รับรู้ แล้วมีการ เกิดดับหรือเปล่า ? รู้แต่ละอย่าง รู้ว่าสงบแล้วดับไป รู้ว่าใสก็ดับไป “ตัวรู้” นะ ไม่ใช่ความใสหรือความสงบ แต่เป็นตัวที่เข้าไปรู้ถึงความสงบและความใส เขารู้แล้วตั้งอยู่อย่างนั้น หรือรู้แล้วดับไป แล้วเกิดขึ้นมารู้ใหม่ ? ตรงนี้เขา เรียก “รู้อาการเกิดดับของนาม” เป็นการเกิดดับของตัววิญญาณรู้ จิตที่ทา หน้าที่รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ อันนี้คือการดูจิตในจิต
เพราะฉะนั้น ถ้าเราสังเกตแยกชัดแบบนี้ เราจะเห็นว่าทุก ๆ อารมณ์ ที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีอะไรเลย ที่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญสติ ขอเพียงให้มีความพอใจที่จะกาหนดรู้ เท่านั้นเอง ไม่ใช่ไปปฏิเสธ เพราะอารมณ์หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ก็คือ ธรรมชาติของรูปนามของเรานั่นเอง ทุก ๆ อารมณ์ที่กาลังปรากฏอยู่ก็คือ สภาวธรรม เพราะธรรมะที่เราพิจารณา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา... ที่กล่าวมาก็คือ อาการของรูปนามนั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้ามี ตัวฉันทะเป็นเบื้องต้น การปฏิบัติของเราก็จะสบายหรือไม่เครียด จะปฏิบัติ


































































































   201   202   203   204   205