Page 201 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 201
183
ไหนอุปาทานไม่เกิดขึ้น ? หรือการรับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีเรากับมีเรา อัน ไหนมีน้าหนัก อันไหนไม่มีน้าหนัก ?
การพิจารณาอย่างนี้ แต่ละอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ของเรา เราจะเห็นว่าการรับรู้แบบไหนกิเลสเกิด การรับรู้ แบบไหนกิเลสไม่เกิด แล้วเห็นชัดว่าการปรุงแต่งอย่างไม่มีตัวตนกับมีตัวตน นั้นต่างกันอย่างไร สภาพจิตต่างกันอย่างไร ทาไมไม่มีตัวตนแล้วยังปรุงแต่ง อยู่ ? ธรรมชาติของขันธ์ ๕ ถึงไม่มีเรา ไม่บอกว่าเป็นเรา สังขารขันธ์ก็ยัง ปรากฏอยู่นั่นเอง ถึงไม่บอกว่าเป็นเรา สัญญาขันธ์ก็ยังปรากฏอยู่นั่นเอง ถึง ไม่บอกว่าเป็นเรา เวทนาขันธ์ก็ยังปรากฏได้อยู่นั่นเอง เพราะเราเกิดมามีขันธ์ ๕ ครบ ถึงแม้ตัววิญญาณไม่บอกว่าเป็นเรา วิญญาณก็ยังเกิดขึ้นเพื่อทา หน้าที่รับรู้อยู่นั่นเอง นี่คือธรรมชาติ
ถามว่า ขณะที่เรารับรู้อย่างมีตัวตนกับไม่มีตัวตน อันไหนกิเลสเกิด ง่ายกว่ากัน ? การรับรู้อย่างไม่มีตัวตน กิเลสเกิดไหม หรือเกิดไม่ได้ ? นี่ เป็นธรรมชาติของเขา ไม่ใช่เราพยายามบังคับ ห้ามสิ่งนั้นเกิด ห้ามสิ่งนี้เกิด ที่เห็นก็คือว่า เราพยายามปฏิเสธขันธ์ใดขันธ์หนึ่งที่กาลังปรากฏอยู่ คือ ปฏิเสธขันธ์อย่างหนึ่ง แต่ก็จะยึดอีกขันธ์หนึ่ง ปฏิเสธสังขารขันธ์คือความคิด ของเรา แต่ก็จะไปยึดตัวเวทนาขันธ์ หรือตัววิญญาณขันธ์ หรือยึดอุเบกขา ไปยึดไว้ ห้ามสิ่งนั้นเกิด ฉันต้องนิ่ง ฉันต้องสงบ ห้ามมารบกวน แล้วก็สิ่ง นั้นอย่าเกิดนะ...
ความคิดทาไมเกิดเยอะแยะ! ทาไมเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ! แล้วก็จะรู้สึก ว่าความคิดรบกวนเรา ที่จริงความคิดเขาไม่รบกวนหรอก ความคิดเขาก็เกิด ตามธรรมชาติของเขา เพราะมีเหตุปัจจัยให้เกิด มีเหตุปัจจัยอะไร ? ความ พอใจไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น บางทีเสียงเข้ามากระทบทางหู รู้สึก ไม่พอใจ ก็ปรุงแต่งไปสารพัด สังขารขันธ์ตรงนี้เป็นอะไร ? เป็นมโนกรรม เราปรุงแต่งด้วยจิตประเภทไหน ? ถ้าปรุงแต่งด้วยกุศลจิต ก็คิดในสิ่งที่ดี