Page 206 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 206

188
เป็นส่วนนั้นออก ให้เหลือแค่อาการ อันนี้ลองสังเกตดูนะ เอาออกได้หรือ เปล่า ? เหมือนอย่างที่เอาความรู้สึกว่าเป็นรูปร่างของสมองออก เหลือแต่ ความรู้สึกที่เบา ๆ ที่สมอง สมองก็จะโล่ง โปร่งไป ว่างไป ไม่มีรูปร่างของ สมอง มีแต่ความรู้สึกที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ เขาเรียก “เพิกบัญญัติ” ไป เหลือแต่ ความรู้สึกหรืออาการเท่านั้นเอง
ถามว่า เราเพิกได้ไหม ? เพิกได้ เพราะอุปาทานการเข้าไปยึดถึงความ เป็นรูปร่าง เป็นบัญญัติเกิดขึ้นจากอะไร ? เกิดขึ้นจากความเข้าใจ หรือความ เชื่อความคิดของเรานั่นเอง ว่ามันเป็นรูปร่างแบบนี้ ด้วยสัญญาของเรา ถ้าเราหลับตาลง ความรู้สึกว่าเป็นรูปร่างต่าง ๆ ก็หายไป เหลือแต่อาการ อย่างเดียว เหลือแต่อาการที่ปรากฏแบบนี้แหละกิเลสไม่เกิดขึ้น การปรุงแต่ง อารมณ์ไม่เกิดขึ้น รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นมาว่าเป็น ไปในลักษณะอย่างไร ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่อาการของรูป นามที่กาลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
เพราะฉะนั้น สาคัญมาก ๆ ว่า ถ้าเราเจริญวิปัสสนา เวลาพิจารณา สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติของเรา ต้องมีเจตนาที่จะ เข้าไปรู้อาการเกิดดับของทุก ๆ อารมณ์ให้มากที่สุด เรียกว่า “เจาะสภาวะ” การเจาะสภาวะไมใ่ ชแ่ คต่ ามรเู้ ฉย ๆ แตค่ อื การมงุ่ เขา้ ไปทอี่ าการเกดิ ดบั ทกี่ า ลงั ปรากฏอยู่ ถ้าเราตามรู้ไปเฉย ๆ บางครั้งเราจะรู้สึกว่าเราตามรู้อาการตลอด เวลา แต่เข้าไม่ถึงอาการที่ปรากฏขึ้นมา เรียกว่าเรากาหนดไม่ได้ปัจจุบัน เป็น แค่เพียงผู้ตามรู้ แต่เข้าไม่ถึงอาการ เมื่อเข้าไม่ถึงอาการ ความเปลี่ยนแปลง ของสภาวธรรมนั้น เราก็ไม่ชัด และเมื่อเข้าไม่ถึงอาการ เมื่ออาการเกิดดับ ไม่ปรากฏชัด สภาพจิตเราหรือจิตใจของเราก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เขาก็จะเป็นอยู่อย่างนั้น นิ่ง ๆ ไปเรื่อย ๆ
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เข้าถึงอาการ จิตจากที่นิ่ง ๆ เขาก็จะเปลี่ยน เปลี่ยน อย่างไรต้องหาต้องดู อันนี้อยากให้โยคีเห็นเอง ต้องพิจารณาเอง ถ้าบอกไว้


































































































   204   205   206   207   208