Page 207 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 207
189
ก่อน โยคีก็จะไปหาที่อาจารย์พูด ว่ามันเป็นอย่างไร ทาไมไม่เหมือนที่อาจารย์ ว่าเลย เพราะสภาวะที่เกิดขึ้นเขามีมากกว่าหนึ่ง ถ้าเราเข้าถึง สติเราขณะนี้ เขาจะเป็นแบบนี้ ถ้าสติเรามีกาลังขนาดนี้ เข้าถึง ก็จะเปลี่ยนเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้น แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน สาคัญที่ว่าเราต้องรู้ว่า เมื่อสติเรา เข้าถึงอาการแต่ละครั้ง เขาเปลี่ยนไปอย่างไร นี่คือส่วนสาคัญในการเจริญ วิปัสสนา
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่นั่งหลับตาพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ อาการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้มีเจตนาที่จะให้ความรู้สึกหรือ สติเรา เข้าให้ถึงอาการให้มากที่สุด ถามว่า แล้วจะเป็นการจ้องสภาวะ จ้อง อารมณ์ไหม ? คาว่า “จ้อง” กับ “เข้าถึง” ก็ต่างกัน รู้ได้อย่างไรว่าเข้าถึง ? รู้ได้อย่างไรว่าจ้อง ? เมื่อไหร่ที่เรามีการจ้องสภาวะหรือจ้องอารมณ์ จะมีช่อง ว่างระหว่างจิตของเรากับอารมณ์ที่กาลังปรากฏขึ้น แต่ถ้าเราไม่ได้จ้อง เราจะ รู้สึกว่าเราไปอยู่ที่เดียวกันกับอารมณ์นั้น เมื่อไหร่ที่อยู่ที่เดียวกัน เขาเรียกว่า “เข้าถึง” แต่ถ้าเมื่อไหร่เป็นผู้จ้องผู้เพ่งอยู่ “เข้าไม่ถึง”
เมื่อไหร่ที่มีช่องว่าง แสดงว่าเป็นผู้ดู กาลังเพ่งจ้องมองเขาอยู่ สังเกต ง่าย ๆ ไม่ยาก เราจะรู้สึกได้เองว่า ตอนนี้เราจ้องอีกแล้วนะ! แล้วทาอย่างไร ? ถ้าจะจ้อง ดูให้ชัด! ลองเข้าไปใกล้ ๆ อย่างเช่น ที่บอกว่าให้วางตาแหน่งของ สติเรา ให้เอาความรู้สึกที่เบาไปไว้ที่มือ ไว้ที่แขน ไว้ที่หน้า นั่นแหละ เรา จ้องหรือเรารู้สึก ? เรารู้สึกตาแหน่งนั้นเลย เหมือนจิตเราเข้าไปตรงนั้น แล้ว ตาแหน่งนั้นก็จะมีการเปลี่ยน อย่างรู้สึกที่สมอง สมองก็จะโล่งไปว่างไป ถ้า รู้สึกที่มือ ที่มือก็จะมีอาการปรากฏขึ้นมา รู้สึกเข้าไปในอาการนั้นอีก ไม่ใช่ จ้องอาการ แต่ “รู้สึก” เข้าไปที่อาการนั้น ตรงนี้ก็จะแก้ปัญหาเรื่องการจ้อง สภาวะได้
ถามว่า ถ้าเราเผลอจ้องบ้าง ผิดไหม ? ไม่ผิดหรอก บางทีก็เผลอบ้าง เพราะเคยชิน เพ่งจ้องเพลิน ๆ พอรู้สึกตัว ทาอย่างไร ? พอรู้สึกตัวก็เข้าไป