Page 209 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 209
191
หน้าที่ของเราคืออะไร ? “พอใจ” ที่จะกาหนดรู้ในสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นมา เท่านั้นเอง อะไรเกิดขึ้นมาก็พอใจที่จะรู้ แล้วก็จะดี!
แล้วอีกอย่างหนึ่ง มีโยคีหลาย ๆ คน ลืมดูสภาพจิตของตัวเอง หรือ ไม่ค่อยได้ใส่ใจสภาพจิตใจของตนเองมากเท่าไหร่ รู้แต่อาการเกิดดับที่ เปลี่ยนไป ดูอาการเกิดดับของรูปนาม ของพองยุบ ดูอาการเกิดดับของเสียง ไปอย่างเดียว แต่ไม่รู้ว่าสภาพจิตใจตัวเองเป็นอย่างไร พอรู้สึกสงบ ก็ไม่รู้ว่า สงบ รู้สึกมีความสุข ก็ไม่รู้ว่ามีความสุข ได้แต่เฉย ๆ เฉย ๆ ไม่ได้ยินดีกับ ความสุขที่เกิดขึ้น ไม่ได้ยินดีกับความสงบที่เกิดขึ้น...
ที่จริงแล้วคือ กลัวที่จะเข้าไปติดในอารมณ์เหล่านั้นมากกว่า แต่ถ้า เราดูให้ชัดว่า ขณะที่ดูเข้าไป สภาพจิตใจเรารู้สึกอย่างไร... สงบให้รู้ชัดว่าสงบ สุขให้รู้ชัดว่าสุข เบาให้รู้ชัดว่าเบา โล่งให้รู้ชัดว่าโล่ง ใสให้รู้ชัดว่าใส ขุ่นมัวให้ รู้ชัดว่าขุ่นมัว คือรู้ชัดตามความเป็นจริง ตามสภาวธรรมที่เขากาลังปรากฏ อยู่ อันนี้เราจะกาหนดอารมณ์ต่อไปได้ง่าย เพราะลักษณะของจิตที่กล่าวมา ก็ล้วนตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ เดี๋ยวเขาก็เปลี่ยน...
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม แค่เรามีสติ มีความพอใจที่ จะเข้าไปรู้ว่าเขาเกิดและดับอย่างไร หรือเปลี่ยนอย่างไรต่อไปเท่านั้นเอง แล้ว เราจะไม่ติดกับอารมณ์ที่กาลังปรากฏอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความสุข หรืออุเบกขา หรือความสงบก็ตาม นั่นแหละเราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของเขาต่อไป เพราะฉะนั้น เวลากาหนดสภาวะ สิ่งที่นักปฏิบัติต้องทามีอยู่ ๒ อย่าง ทา บ่อย ๆ จะดี อย่างแรกคือ การกาหนดอารมณ์ทุก ๆ อารมณ์ ให้กาหนดรู้ ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เวลาปฏิบัติทุกครั้ง ขอ ให้เจาะสภาวะให้ต่อเนื่อง
อย่างที่บอกแล้วว่า ขณะที่เรานั่ง ถ้ามีเวทนาเกิดขึ้นมา ก็มีเจตนาที่ จะเข้าไปรู้อาการเกิดดับของเวทนา ในขณะที่เดิน เราก็มุ่งไปรู้อาการเกิดดับใน ขณะที่ก้าวเท้าเดินแต่ละก้าว แต่ละก้าว ว่ามีการเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปลง