Page 211 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 211
193
คาว่า “วิปัสสนาปัญญา” คือ พิจารณาเห็น “อาการพระไตรลักษณ์” เป็นหลัก เน้นที่กาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปนามเป็นหลัก ทาไมเห็น อาการเกิดดับของรูปนามแล้วถึงเรียกว่าเป็น “ปัญญา” ? เพราะเป็นปัญญา พิจารณา “รู้” และ “เห็น” ตามความเป็นจริงของรูปนาม ที่ตั้งอยู่ในกฎของ ไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตลอดเวลา เราเห็นตามความเป็น จริงโดยที่ไม่ต้องปรุงแต่ง อันนี้คือ “ภาวนามยปัญญา” และเมื่อเห็นสภาว ธรรมปรากฏขึ้นในแต่ละขณะแล้ว ใครจะเข้าใจอย่างไร นั่นก็อยู่ที่มุมมอง ของแต่ละคน
สังเกตไหม การทาใจให้ว่าง ใจว่างเบาเหมือนกัน แต่ความเข้าใจ ต่างกัน ว่าโดยสภาวธรรมคือตัวเดียวกัน คือรู้สึกว่างและเบา เห็นอย่าง เดียวกัน แต่เข้าใจต่างกัน คิดต่างกัน ตรงที่เราเข้าใจต่างกัน คิดต่างกัน ตรงนี้ เรียกว่าอะไร ? จินตามยปัญญา ใช่ไหม ? ภาวนามยปัญญา คือ เห็นตาม ความเป็นจริงว่า จิตว่าง ไม่มีตัวตน ไม่มีเราไม่มีเขา แต่ความไม่มีตัวตน ไม่มีเราไม่มีเขา เขา “บอก” อะไรกับเรา ? อันนั้นแหละคือพิจารณาด้วย จินตามยปัญญา ด้วยการตรึกตรองว่าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นหมายความว่า อย่างไร ให้ “ความหมาย” กับสิ่งที่เกิดขึ้น
แต่ว่าโดยสภาวะเขาเอง คือเขาเป็นอย่างนั้น เหมือนแสงไฟที่เรา เปิดขึ้นมาแล้วสว่าง ลักษณะของความสว่างที่เกิดขึ้น เราก็จะคิดไปต่าง ๆ นานา ว่าสว่างอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร เปิดขึ้นมาแล้ว แสงสว่างนี้ใช้อะไร ได้บ้าง ทีนี้ปัญญาของวิปัสสนา จุดหลัก ๆ เลยคือ เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อการละ เป็นไปเพื่อการคลายอุปาทาน คลายการยึดมั่นถือมั่นในรูป นามขันธ์ ๕ พอพูดถึงรูปนาม ขันธ์ ๕ เราพิจารณาอะไร ?
ถ้าเราพิจารณาแค่รูปนามขันธ์ ๕ ภายในของเราอย่างเดียว ก็แคบ ไป! เพราะทุก ๆ คนก็คือรูปนามขันธ์ ๕ นั่นเอง ที่เขาเรียกว่ารูปนามขันธ์ ๕ ภายในกับภายนอก ภายนอกก็ของคนอื่น ภายในของเราเอง การที่เรา