Page 212 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 212

194
พิจารณารูปนามที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับอยู่เนือง ๆ ที่เราพิจารณาเห็น ชัดถึงความเป็นคนละส่วนระหว่างรูปกับนาม กายกับใจ หรือใจกับเวทนา ใจกับตัวสัญญา ใจกับตัวสังขาร หรือที่เรียกว่า ใจรู้กับรูปเป็นคนละส่วนกัน ใจรู้กับเวทนาเป็นคนละส่วนกัน ใจรู้กับตัวสัญญาก็เป็นคนละส่วนกัน ใจรู้กับ ตัวสังขารก็เป็นคนละส่วนกัน ตรงนี้เรียกว่า “ปัญญาพิจารณาเห็นตามความ เป็นจริง” แต่ต้อง “เห็น” นะ ไม่ใช่รู้
อย่างเช่น เราเห็นว่าความคิดกับจิตที่ทาหน้าที่รู้แยกส่วนกัน เรื่องที่ คิดอยู่ข้างนอก จิตที่ทาหน้าที่รู้อยู่อีกที่หนึ่ง มีช่องว่างระหว่างจิตที่ทาหน้าที่ รู้กับความคิดที่เกิดขึ้น ตรงนี้เรียกว่า “เห็นตามความเป็นจริง” เป็นปัญญา วิปัสสนา เป็นการแยกนามกับนาม แยกจิตที่ทาหน้าที่รู้กับตัวความคิดที่ เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ปัญญาตรงนี้เราไม่ต้องคิด แต่เห็นชัด รู้สึกชัดทันที! ตรงนี้ปัญญาวิปัสสนา เห็นจริง ๆ ไม่ใช่ คิดว่า น่าจะเป็น ควรจะเป็น หรือ ต้องเป็น แต่เห็นสิ่งที่เขากาลังเป็นอยู่ เพราะฉะนั้น ลองดูนะว่าเราสามารถ เห็นได้ไหม
ถ้าเราทาจิตให้ว่าง ให้กว้าง กว้างกว่าตัว หรือกว้างเท่ากับห้องนี้ แล้วสังเกตดูว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเสียงที่เกิดขึ้น เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือ คนละส่วน ? เขาแยกกันอยู่หรืออยู่ที่เดียวกัน ? เสียงที่ได้ยินเกิดอยู่ที่หู เข้ามาที่ใจ หรือว่าตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ ? นี่คือการเจริญวิปัสสนาปัญญา พิจารณาตามความเป็นจริง ปัญญาตรงนี้เกิดจากอะไร ? เกิดจากการใส่ใจ เขาเรียกว่า “ตัวเจตนา” หรือ “ตัวสังเกต” คือคาว่า “มนสิการ” ใช่ไหม ? ใส่ใจพิจารณา
อีกอย่างหนึ่งก็คือ คาว่า “มนสิการ” กับ “ธัมมวิจยะ” ก็องค์ธรรม เดียวกัน คือคอยสังเกตว่าเขาเป็นไปในลักษณะอย่างไร ขณะที่เห็นว่าจิต กับอารมณ์เป็นคนละส่วนกัน จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเสียงเป็นคนละส่วนกัน เมื่อเห็นอย่างนี้ ผลที่ตามมาคืออะไร ? ผลที่เกิดขึ้นกับจิตใจคืออะไร ? ทาให้


































































































   210   211   212   213   214