Page 208 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 208
190
ใหม่ ไม่ต้องเสียดายเวลา เมื่อกี้มัวแต่จ้องอยู่... ตอนที่เราคิดเสียดายเวลา ก็ เสียเวลาเพิ่มขึ้นอีก ใช่ไหม ? ตอนที่เราคิด เสียดายจังเลย มัวแต่คร่าครวญ ก็เสียเวลาเพิ่มอีกหลายวินาที แต่ถ้าเรารู้สึกตัวขึ้นมา อ้าว! เมื่อกี้จ้อง... แล้ว ก็เข้าไปใหม่ เขาเป็นอย่างนี้ เราก็ใช้เวลาได้มากขึ้นอีก เข้าถึงอาการได้มากขึ้น ไปในตัว เพราะฉะนั้น เวลาเราเจริญวิปัสสนา อย่างที่บอกว่า ถ้าเรากาหนดรู้ อย่างไม่มีตัวตน แล้วเข้าให้ถึงอาการ การปฏิบัติของเราจะก้าวหน้า
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีปฏิบัติของอาจารย์ไม่ต้องใช้คาบริกรรม โยคีมีความสงสัยว่า เวลาปฏิบัติเผลอใช้คาบริกรรมด้วยได้หรือเปล่า ? ได้ นะ แต่จะบริกรรมหรือไม่บริกรรมก็ตาม สิ่งสาคัญ “ให้สติเราอยู่ที่เดียวกับ อาการ” เมื่อไหร่ก็ตามที่คาบริกรรมอยู่ที่เดียวกับอาการ สักพักคาบริกรรมก็ จะหายเอง เหลือแต่อาการที่ปรากฏ เป็นสภาวะปรมัตถ์เมื่อไหร่ คาบริกรรม ก็จะหายไป เหลือแต่อาการที่ปรากฏขึ้นมา เกิดดับเปลี่ยนไปอยู่เสมอ เราก็ จะชัดเอง เพราะฉะนั้น จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ถ้าไม่ใช้ ก็ให้รู้ชัดในอาการที่ กาลังปรากฏอยู่จริง ๆ ว่าขณะนี้เป็นอย่างไร นี่แหละคือสิ่งที่โยคีนักปฏิบัติ ควรจะทา
สังเกตดู เราปฏิบัติมาสักพัก บางคนก็ปฏิบัติมานานแล้ว แต่รู้สึกว่า ยังไม่ไปไหน หรือรู้สึกตัวเองยังไม่ก้าวหน้า หรือติดตรงใดตรงหนึ่ง ตรงที่ ติดนี่ ขอให้รู้ว่าตัวเองติดอะไรสักนิดหนึ่ง เวลาไปถามครูบาอาจารย์ ท่านจะ ได้บอกได้ว่า อ้อ! ติดตรงนี้ จะแก้แบบนี้... แต่ถ้าเราบอกไม่ได้ รู้แต่ว่าเป็น อย่างนี้ อย่างนี้... หรือไม่เล่าว่าที่ติดเป็นอย่างไร พอท่านแก้สภาวะให้ บางที เรากลับไป เราก็ทาไม่ถูกอีก ถ้าเราเล่าสภาวะได้ชัด การแก้ปัญหาของเราก็จะ ง่ายขึ้น
สภาวธรรมที่เกิดขึ้น จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรซับซ้อนหรอก แต่พิสดาร และลึกซึ้งเท่านั้นเอง สิ่งที่เราคิดว่าไม่มี ก็มี! สิ่งที่เราคิดว่าไม่น่าจะเกิด ก็ เกิด! สิ่งที่เราคิดว่าไม่น่าเป็นได้ ก็เป็น! สิ่งที่เราคาดไม่ถึง ก็มี! เพราะฉะนั้น