Page 218 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 218
200
บางครั้งเขานิ่ง ๆ อยู่ แต่ถ้าถอยออกมาสังเกตดี ๆ จะมีจุดหนึ่งที่เขา เคลื่อนไหว ถึงแม้เคลื่อนไหวเล็ก ๆ เราก็ไปรู้ตรงที่เคลื่อนไหว รู้ถึงความ ไม่เที่ยง สังเกตไปเรื่อย ๆ สักพักเวทนาเขาก็จะคลาย เขาก็จะเปลี่ยนเอง รู้ ความไม่เที่ยงของเวทนา แต่ไม่ใช่ไปทาให้เวทนาหาย ไม่ใช่กัดฟันทนอย่าง เดียวจนกว่าเวทนาจะหายไป เพราะฉะนั้น การพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ ตรงนี้ เขาเรียกว่า “ปัญญาวิปัสสนา” พิจารณาถึงความไม่เที่ยงของเวทนา ที่ เราสวดมนต์ว่า “เวทนาไม่เที่ยง” ใช่ไหม ? เวทนาไม่เที่ยงแต่ฉันก็ทน ไม่ไหว! แสดงว่าใจเราไม่เที่ยงกว่าเวทนาอีก ใจเราหายก่อน ทนไม่ได้ แล้ว ก็ต้องเปลี่ยน
ที่บอกว่า อานิสงส์ของการกาหนดเวทนา คือจิตเราจะตื่นตัว เมื่อไหร่ ที่มีเวทนามาก ๆ เราจะไม่ง่วง เพราะฉะนั้น เวทนาเป็นอุปสรรคหรือเป็น คุณ ? อยู่ที่เรามอง! บางคนรู้สึกว่านั่งแล้วปวด ปวด... ทาไม่ได้เลย ปวด อย่างเดียว หาอะไร ? ถามตัวเองสิว่า เม่ือปวดแล้วหาอะไร ? ทาไมถึงเรียก ว่าทาไม่ได้ ? พอนั่งกรรมฐานปุ๊บ มีความคิดเข้ามารบกวนเยอะแยะ กาหนด ไม่ได้เลย หาอาการเกิดดับไม่ได้เลย มีแต่ความคิดรบกวนอย่างเดียว ถาม กลับว่า เราหาอาการเกิดดับของอะไรถึงไม่เห็น ?
สังเกตดูนะ บางทีเราไม่ได้ดูอาการเกิดดับของสิ่งที่เขาปรากฏ แต่จะ ไปหาอาการเกิดดับที่เขายังไม่เกิด เราก็เลยหาไม่เจอ หรือไม่เห็น ที่จริงแล้ว ต้องรู้อาการเกิดดับของความคิดนั่นแหละ เราจะได้เห็นว่าความคิดเกิด แล้วดับแบบนี้ เกิดแล้วดับอย่างนี้ เวทนาเกิดขึ้นมาเปลี่ยนแบบนี้ ดับอย่างนี้ อย่างไรเขาก็แสดงอาการพระไตรลักษณ์ บางทีเวลามีสภาวะเกิดขึ้น มีอารมณ์ รบกวน โยคีรู้สึกหงุดหงิด กาลังกาหนดพองยุบอยู่ดี ๆ มีเสียงดังขึ้นมา ไม่ ชอบเลย รู้สึกหงุดหงิด! เรากาลังปฏิบัติได้ดีอยู่เลย กาลังกาหนดอารมณ์ได้ ดีเลย ไม่น่ามารบกวนเลย...
อารมณจ์ รทเี่ ขา้ มาไมไ่ ดร้ บกวนหรอก ตวั ทกี่ วนคอื กเิ ลสของเรา ความ