Page 220 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 220
202
ตาแหน่งของจิตเราไว้อย่างไร อารมณ์เหล่านั้นถึงจะไม่บีบคั้นจิตใจของเรา จนเกิดเป็นความทุกข์หรือเศร้าหมอง ? การที่วางตาแหน่งของจิตเราให้ไกล ออกไป อารมณ์นั้นก็อยู่ห่างตัวไปด้วย ถึงแม้เราจะนั่งอยู่ใกล้ ๆ กัน ลอง พิสูจน์ดูนะว่า ถึงแม้เราจะนั่งอยู่ใกล้ ๆ กันแบบนี้ ลองหลับตาลง แล้วทา จิตให้ว่าง รู้สึกว่ารอบ ๆ ตัวเรามีอะไรหรือเปล่า ? รู้สึกไหมว่าเรานั่งอยู่ที่ ไหน ? นั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ คนเดียว นั่งอยู่ในความเงียบ นั่งอยู่ในความเบา นั่งอยู่ในความสงัด หรือนั่งอยู่ในความสุข ? ความรู้สึกถึงความเป็นอาคาร ความเป็นห้อง ยังมีอยู่ หรือหายไป ?
ยิ่งปล่อยจิตของเราให้กว้าง ๆ ลองดูนะว่า รู้สึกอย่างไร ? พิจารณา ดูว่ารอบ ๆ ตัว มีความรู้สึกหนัก หรือเบา หรือว่าง ๆ ? แล้วสังเกตดูว่า เรา นั่งอยู่ที่ไหน ? นั่งอยู่ในที่ว่าง ๆ ที่โล่ง ๆ นั่งอยู่ในอวกาศ หรือนั่งอยู่บนพื้น ไม้อยู่ในอาคาร ? ตามความรู้สึกในใจเรานะ ไม่ใช่ตามความคิดหรือความจา แต่เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของเราจริง ๆ ว่ารู้สึกอย่างไร นี่คือการ พิจารณาดู เพราะฉะนั้น สังเกตไหมว่า ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ ความสุขที่ เกิดขึ้น อะไรเป็นตัวเข้าไปมีอุปาทาน ? ไม่ใช่รูปอันนี้ แต่เป็นความรู้สึก หรือจิตของเราเอง ที่เข้าไปให้ความสาคัญกับสิ่งนั้นว่าเป็นอย่างไร แล้วรู้สึก อย่างไร
สิ่งรอบตัวเราทุก ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นคน ต้นไม้ อาคาร บ้านเรือน ต่าง ๆ ล้วนแล้วเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้ว ดับไป มีแล้วหายไป แต่เมื่อไหร่เรารู้สึกว่าเราเป็นคนสร้าง เราก็จะไปยึดเอา เป็นของเรา ทั้ง ๆ ที่เขาตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ พอเราจากไป เขาก็ยังอยู่อย่าง นั้นแหละ จริง ๆ แม้แต่รูปนามอันนี้ก็ยังไม่บอกว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น เวลาเรามีความทุกข์ เราทุกข์เพราะอะไร ? ทุกข์เพราะการพลัดพราก ทุกข์ เพราะไม่ได้ดั่งใจ ไม่สมหวัง หรือทุกข์เพราะความหลงผิดเข้าไปยึดติดว่า สิ่ง นั้นเป็นของเรา สิ่งนี้เป็นของเรา ?