Page 222 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 222

204
ง่าย ๆ ก็คือ เราอยากดับทุกข์ มีแต่ความอยาก แต่ไม่รู้วิธีดับ อยาก อย่างไรก็ไม่ดับ เพราะเราไม่รู้วิธีดับ! อยากไปนิพพาน อยากอย่างไรก็ไปไม่ได้ ถ้าไม่รู้วิธีทา! อยากจะว่าง ทาอย่างไรก็ไม่ว่าง ถ้าไม่รู้วิธีทา! เพราะฉะนั้น คา ว่า “มรรค” หรือ “วิธีทา” จึงเป็นสิ่งสาคัญ มรรคก็คือ “วิธีทาหรือวิธีปฏิบัติ” นั่นเอง อย่างเช่น เราทาอย่างไรจิตเราถึงว่าง ? รู้ ใช่ไหม ? นั่นแหละรู้วิธีทา มรรคก็คือรู้วิธีทา ทาอย่างไรความทุกข์ถึงจะหายไป ?
สังเกตไหม บางทีเรารู้ว่าเราทุกข์ แต่เราก็ดับไม่ได้ ถ้ารู้ว่ามีทุกข์ แล้ว เราทาให้ทุกข์นั้นหายไปได้ ก็เรียกว่า “เราดับทุกข์ได้” แต่ถ้ารู้ว่ามีทุกข์แล้ว ดับไม่ได้ ก็เรียกว่าดับไม่ได้ ถ้ารู้แล้วไม่รู้วิธีดับ ก็ดับไม่ได้ การปฏิบัติธรรม เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ อย่างเช่น เวลาเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา ทุกคน จะรู้เลยว่าไม่สบายใจ รู้สึกอึดอัด รู้สึกหนัก แต่ก็ยังแบกต่อไป ถ้าเราไม่ดับ เขาก็จะค้างไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิตเราจะเสวยความทุกข์นั้นจนอิ่มเต็มที่ แล้ว เขาก็หมดอายุของเขาเอง เพราะความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ใช่ไหม ?
เวลาเราทุกข์กับปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราอาจจะทุกข์อยู่ประมาณ ชั่วโมงหนึ่ง พอรู้สึกอิ่มแล้ว เหนื่อยเต็มที่แล้ว เขาก็หมดกาลังของเขาเอง แต่ เจอใหม่ก็ทุกข์ใหม่ เจออีกก็ทุกข์อีก ถามว่า เรารู้ทุกข์แล้ว รู้วิธีดับทุกข์หรือ เปล่า ? ที่ว่า เห็นทุกข์ก็เห็นธรรม แต่ถ้าไม่รู้วิธีทาให้ทุกข์ดับ ก็ดับไม่ได้อีก! เพราะฉะนั้น ต้องใช้ปัญญา ปัญญาเกิดจากเหตุและผลที่กาลังปรากฏอยู่ตรง นั้น เกิดจากเหตุปัจจัยของเขา สังเกตไหมว่า เหตุใดความทุกข์จึงเกิดขึ้น ?
ในพระสูตรหนึ่ง มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าถามภิกษุ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ความทุกข์ ใครเป็นคนทาให้ ? ภิกษุรูปหนึ่งบอกว่า คนอื่นทาให้ ถึงทุกข์ พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ ภิกษุอีกรูปหนึ่งบอกว่า เราเองเป็นคนทาให้ ทุกข์ พระพุทธเจ้าก็บอกไม่ใช่อีก อีกรูปหนึ่งบอกว่า ทั้งตัวเราและคนอื่นนั่น แหละทาให้ทุกข์ พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่... แล้วอะไรทาให้ทุกข์ ? ความไม่รู้ แล้วไม่รู้อะไร ? ไม่รู้ความจริงของรูปนามขันธ์ ๕ นั่นเอง เรายึดเอารูปนี้เป็น


































































































   220   221   222   223   224