Page 224 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 224

206
ส่งจิตเราไปไกลออกไป จิตเราก็จะรู้สึกเบาขึ้น
เวลาเรามองอะไรก็ตาม เอาความรู้สึกที่เบา ๆ กว้าง ๆ มาไว้ข้างหน้า
แล้วมอง ลองดูสิ รู้สึกเป็นอย่างไร ? ภาพที่เห็นรู้สึกหนักหรือเบา ? (โยคี กราบเรียนว่า เบา) บางทีเราเห็นอะไรแล้ว เรารู้สึกว่าไม่ค่อยดี เป็นอารมณ์ ที่เป็นอกุศล อารมณ์เหล่านั้นเป็นอารมณ์ฝ่ายอกุศล ไม่ใช่จิตเราเป็นอกุศล อย่างเช่น เราเจอคนหงุดหงิด นั่นคืออารมณ์ที่เป็นอกุศลสาหรับเรา แต่ไม่ใช่ จิตเราเป็นอกุศล ทาอย่างไรการรับรู้อารมณ์นั้นจึงจะไม่บีบคั้นใจเรา ? ขอให้ จิตเรากว้างกว่าคนนั้น ให้จิตเรากว้าง ๆ กว่าเขา แล้วลองดูว่า รู้สึกกระทบ ใจเราไหม ?
ถ้าอยากรู้และอยากชานาญ ทาซ้า ซ้าแล้วซ้าอีก เขาเรียก “ฝึกให้ ชานาญจนเป็นวสี” คือฝึกบ่อย ๆ ใช้บ่อย ๆ จนเกิดความชานาญ พอเกิด ความชานาญ มีอารมณ์ปรากฏขึ้นมาปุ๊บ จิตเราจะว่างทันที จิตเราจะรับรู้ได้ ทัน แต่ถ้านาน ๆ ทาที เราก็ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง เรามาฝึกกรรมฐาน ฝึกเจริญ สติของเราให้ไว ให้คล่อง ให้มีความชัดเจนเท่าทันอารมณ์ เมื่อมีอารมณ์ไหน เกิดขึ้น สติเราไปรู้ก่อน มันก็จะหยุดก่อน
ก่อนที่จะจบ เพิ่มอีกนิดหนึ่ง ได้วิธีดับทุกข์แล้ว ลองเติมความสุขให้ ตัวเองดู เมื่อกี้บอกว่าหลังจากนี้จะให้แผ่เมตตา ก่อนที่เราจะแผ่เมตตาใจเรา ควรเป็นอย่างไร ? จิตแบบไหนถึงจะมีเมตตา ? จิตต้องมีความสุข เมตตา ถึงเกิดได้ เพราะฉะนั้น ทาจิตให้ว่าง ๆ เอาจิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ มาไว้บริเวณ หัวใจของเรา จากคอถึงลิ้นปี่ เขาเรียก “บริเวณหทยวัตถุ” เอาความรู้สึกที่ ว่างเบาใส่เข้ามาบริเวณหัวใจของเราตรงนี้ พอบริเวณหัวใจของเรารู้สึกเบาโล่ง แล้ว น้อมถึงความรู้สึกดี ๆ นึกถึงบุญกุศลที่เราได้ทา เอาบุญนั้นมาใส่เข้าไป ในใจที่ว่าง ๆ ของเรา ใครนึกถึงบุญไม่ออก ก็นึกถึงความนิ่มนวลอ่อนโยน ก็ได้ หรือความรู้สึกที่ดี ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เอาความรู้สึกที่เป็นกุศลใส่เข้าไปในใจที่ว่าง ๆ เบา ๆ ของเรา แล้ว


































































































   222   223   224   225   226