Page 223 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 223

205
เรา เราก็ทุกข์เพราะรูปอันนี้ เรายึดความคิดว่าเป็นเรา เราก็ทุกข์เพราะความ คิด ยึดเอาตัวสัญญาเป็นเรา เมื่อตัวสัญญามีการเปลี่ยนแปลง ก็ทุกข์เพราะ
สัญญา
ทาอย่างไรเราถึงจะไม่ทุกข์ ? พิจารณารู้ตามความเป็นจริง ให้จิตเรารู้
ว่า จิตกับรูปเป็นคนละส่วนกัน จิตกับเวทนาเป็นคนละส่วนกัน แล้วเห็นความ เปลี่ยนแปลงของเขา เมื่อจิตเราเห็นชัดเจนว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ จิตก็จะรับ ความจริงตรงนั้น เมื่อยอมรับความจริงตรงนั้น จิตก็จะคลายจากอุปาทาน การเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเราของเรา ตรงที่เห็นตามความ เป็นจริงนี่แหละปัญญาเกิด โมหะหายไป อวิชชาหายไป เหลือแต่ตัวปัญญา วิชาก็เกิดขึ้น ก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การจะดับทุกข์ เราจึง ต้องกาหนดรู้ตามความเป็นจริงของอารมณ์ของรูปนามที่เกิดขึ้น
และอีกอย่างหนึ่ง เราขยายความรู้สึกหรือใจเราให้กว้างได้ ใช่ไหม ? ทาได้ ทีนี้ ลองคิดถึงเรื่องไม่สบายใจสักเรื่องหนึ่ง เรื่องอะไรก็ได้ ลองดู รู้สึก เป็นอย่างไร ? หนัก ใช่ไหม ? เวลาหนัก ใจเรากว้างหรือแคบ ? อยู่ตรงนี้ อยู่บริเวณหทยวัตถุ ใช่ไหม ? คิดแล้วรู้สึกมันหนัก ๆ ลองขยายความรู้สึก หนักให้กว้างออก ให้กว้างกว่าตัว กว้าง ๆ ออกไป รู้สึกเป็นอย่างไร ? ขยาย ความรู้สึกที่หนักนะ อย่าขยายเรื่องราว ขยายจิตที่ทุกข์ให้กว้างออก แล้วรู้สึก อย่างไร ? ความหนักนั้นยังอยู่หรือหายไป ? ค่อย ๆ บางไป นี่คือวิธีดับทุกข์
เห็นไหม ไม่ต้องหาคาพูดเลย แค่ขยายจิตตัวเองให้กว้างออก ลอง อีกทีสิ รู้สึกเป็นอย่างไร ? ถ้าขยายเร็วขึ้น ปล่อยให้กว้างเร็ว ๆ เลย รู้สึก เขาดับเร็วขึ้นไหม ? รู้สึกเป็นอย่างไร ? นี่แหละวิธีดับทุกข์ ใช้ปัญญาเข้าไป แล้วลองดู “วิธีป้องกัน” รู้วิธีดับก็ต้องรู้วิธีป้องกัน ลองคิดถึงเรื่องเดิม แต่ให้ จิตที่เบา ที่โล่ง กว้างกว่าเรื่องที่คิด ไม่ต้องดึงเข้ามาหาตัวนะ ให้จิตที่เบา ๆ โล่ง ๆ ว่าง ๆ ไปที่เรื่องนั้น ให้กว้างกว่าเรื่องนั้น ลองดู คิดแล้วยังรู้สึกหนัก อยู่ไหม ? หรือรู้สึกเป็นอย่างไร ? คิดแล้วความทุกข์เกิดหรือเปล่า ? พอเรา


































































































   221   222   223   224   225