Page 221 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 221
203
ฉะนั้น การเจริญวิปัสสนา ปัญญาวิปัสสนาจึงให้พิจารณาอาการของ รูปนาม ให้แยกรูปนามเป็นคนละส่วน เวทนาบอกว่าเป็นเราไหม ? สัญญา บอกว่าเป็นเราไหม ? สังขารบอกว่าเป็นเราไหม ? นี่เป็นสภาวธรรมที่อยู่ใกล้ เราที่สุด และเราสามารถกาหนดรู้ได้ตลอดเวลา แค่เราพิจารณารู้ถึงความ เป็นคนละส่วนระหว่างรูปกับนาม แค่นั้นจิตเรายังรู้สึกอิสระได้ ไม่เข้าไป เกาะเกี่ยวหรือยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ขณะใดก็ตามที่เรามีสติ เข้าไปกาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วนระหว่างจิตกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น สภาพ จิตใจของเราจะรู้สึกผ่อนคลาย หรือรู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกว่าง ไม่ถูก พันธนาการ ไม่ถูกกดทับ ไม่อึดอัด
สังเกตดู เวลาใจเราเบาทุกครั้ง เราก็จะรู้สึกอิสระ อิสระจากอะไร ? อิสระจากเครื่องพันธนาการ คือความเข้าใจความเห็นของเรานั่นเอง ไม่ใช่ สิ่งอื่นมายึดเรา แต่เราต่างหากที่เข้าไปยึด เพราะมีเราเกิดขึ้นมา เมื่อมีเรา เกิดขึ้นมา ตัณหาก็เกิด อุปาทานเกิด ภพชาติเกิด ก็วน ๆ ไปจนครบรอบ จนตายไป ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ... พอเจออาการมรณะการเสื่อมสลายไป ความเศร้าหมองคร่าครวญ ร่าไห้พิไรราพันก็เกิดขึ้น ถ้าไม่รู้หรือไม่เห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งนั้นเป็น เรื่องธรรมดา เกิดขึ้นมาแล้วดับไป มีแล้วหายไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อ ไหร่ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น
ที่พระพุทธเจ้าใช้คาว่า “ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็คือทุกข์” ถ้า ปรารถนาสงิ่ ใดไมไ่ ดส้ งิ่ นนั้ แตเ่ ขา้ ใจวา่ มนั เปน็ อยา่ งนนั้ เรากไ็ มท่ กุ ข!์ ใชไ่ หม ? เราต้องเข้าใจสิ จาเอาไว้ว่า เรามีสิทธิ์ที่จะคิดที่จะปรารถนา แต่ว่าได้ก็ดี ไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ใจก็จะไม่ทุกข์ เหมือนเราปรารถนามรรค ผล นิพพาน ใช่ไหม ? ปรารถนามรรค ผล นิพพานแล้ว ต้องเอาให้ได้! มันต้องคิดเผื่อไว้ ต้องได้ สักวันแหละ! เราก็จะรู้ว่า “สักวันหนึ่ง สักวันหนึ่ง” เราก็จะมีกาลัง ไม่ใช่เรา ต้องได้เดี๋ยวนี้! พอไม่ได้เดี๋ยวนี้ก็เครียด ความอยากมากไป ใช่ไหม ?