Page 226 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 226

208
เบา ? ที่เราทาดู รู้สึกว่ามันหนัก ใช่ไหม ? ตรงที่หนัก สังเกตไหมว่า เพราะ อะไรถึงหนัก ? ไม่ใช่เพราะเราไม่รู้นะ รู้ ใช่ไหม ? รู้แต่ก็ยังทุกข์ เพราะ “ตัว ที่ทาหน้าที่รู้” คือใคร ? มีตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นมา ก็คือ มี “เรา” เป็นผู้รู้ และมี “เรา” เป็นผู้รับ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ามีแต่จิตที่ทาหน้าที่รู้ อย่างที่บอก ให้ จิตที่ว่างกว้างกว่าอารมณ์ กว้างกว่าเรื่องที่คิด คิดถึงเรื่องนั้น รับรู้ได้ว่าเป็น เรื่องอะไรแต่ใจไม่ทุกข์ และเห็นความเป็นคนละส่วน ระหว่างอารมณ์ที่เกิด ขึ้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ จึงไม่มีอุปาทานเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงรับรู้ด้วยความว่าง ไม่ประกอบด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ
เมื่อไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ การรับรู้อารมณ์เหล่านั้นจึงเป็นเพียง การรับรู้ตามธรรมชาติ และไม่มีเราเข้าไปเสวยอารมณ์อันนั้น จึงไม่มีรสชาติ และรู้สึกเบาได้ เพราะธรรมชาติของจิต เมื่อไหร่ที่ไม่ถูกพันธนาการด้วย โลภะ โทสะ หรือโมหะ จิตดวงนั้นจะเกิดความรู้สึกอิสระ จิตที่อิสระ จิตที่ไม่ ถูกพันธนาการ เขาก็จะผ่องใส เบิกบาน ว่องไว คล่องแคล่ว เมื่อไหร่ก็ตาม ที่จิตดวงนั้นถูกพันธนาการ ไม่ว่าจะด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ หรือนิวรณ์ ต่าง ๆ ก็ตาม ก็จะไม่ตื่นตัว จะรู้สึกหนัก
เพราะฉะนั้น ความทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะว่ามี “เรา” เป็นผู้รับ “เรา” ตัว นี้คืออะไร ? อัตตา ใช่ไหม ? “อัตตทิฏฐิ” ความเข้าใจว่าเป็นเรา ความเห็น ว่าเป็นเรา ความคิดว่าเป็นเรา ใช่ไหม ? ความเห็นว่าเป็นเรา เข้าใจว่าของเรา เข้าใจว่า “อะไร” คือของเรา ? คือรูปนามขันธ์ ๕ นี่แหละ ว่าเป็นเราเป็นเขา เข้าใจว่ารูปเป็นของเรา เวทนาเป็นของเรา สัญญาเป็นของเรา สังขารเป็นของ เรา วิญญาณเป็นของเรา
ลองพิจารณาดูสิ แม้แต่ตัวสังขารหรือตัวสัญญาที่เกิดขึ้นมาตลอด เวลา ที่โยคีนั่งแล้วรู้สึกมีความคิดเยอะแยะเลย ปรุงแต่งสารพัด สั่งให้เขา หยุด เขาก็ไม่ยอมหยุด! อยากจะหยุด เขาก็ไม่ยอมหยุด! คาว่า “เขา” ก็ ไม่ใช่ของเราแล้ว ใช่ไหม ? ความคิดเดี๋ยวเขาก็มาเดี๋ยวเขาก็ไป สลับกันไป


































































































   224   225   226   227   228